Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/816
Title: การศึกษาแนวคิดทางอภิปรัชญาของประสาทขอมในจังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: An Analytical Study of Metaphysics Regarding Khom Castle in Nakorn Ratchasima Province
Authors: อธิจิตฺโต, ยุทธนา
ไซอ่าเอี่ยม, ฆริศา
Keywords: อภิปรัชญา
ปราสาทขอม
จังหวัดนครราชสีมา
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาประวัติศาสตร์ของปราสาทขอมตามหลัก อภิปรัชญาศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา ๒) ศึกษาแนวคิดและลักษณะที่ปรากฏทางอภิปรัชญาของ ปราสาทขอม และ ๓) ศึกษาแนวคิดทางอภิปรัชญาของปราสาทขอมในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากด้านศิลปวัตถุปราสาทขอมในจังหวัดนครราชสีมา ด้านเอกสารจาก พระไตรปิฎก คัมภีร์ส่าคัญทางพระพุทธศาสนา เอกสารต่าราเกี่ยวกับอภิปรัชญาและเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับปราสาทขอมในจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า ปราสาทขอมในจังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีปราสาทหินอยู่ ๒ แห่ง คือ ปราสาทหินพิมาย และปราสาทหินพนมวัน ปราสาทหินพิมายเป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่ายิ่งทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี คติการเคารพนับถือศาสนา และ อื่น ๆ ของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สิ่งก่อสร้างแห่งนี้แสดงถึงบารมีอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้างและพลัง แห่งศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อศาสนา ส่วนปราสาทหินพนมวันเป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติ ความเชื่อของเขมรโบราณ เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถาน เป็นปราสาทหิน ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๕ ของประเทศไทย แนวคิดและลักษณะที่ปรากฏทางอภิปรัชญาของปราสาทขอมได้ออกแบบก่อสร้างอย่างมี อุดมคติทางปรัชญาเรื่องความเชื่อเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ภูเขาพระสุเมรุ อันเป็น แกนกลางของจักรวาล การสร้างอาคารปราสาทมาจากคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่าเทพเจ้า ทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาลซึ่งอยู่บนสวรรค์การสร้างปราสาทจึง เปรียบเสมือน การจ่าลองเขาพระสุเมรุมายังโลกมนุษย์เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูป เคารพของเทพเจ้า ขึ้นประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แทนความหมาย ของเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่ว่า เทพเจ้ามีปราสาทประทับอยู่บนสรวงสวรรค์ ตามด้วยพิธีกรรมทางศาสนา บ่งบอกถึง ความรู้ ความเชื่อ ความจริง ความดี และความงามทาง อภิปรัชญาของปราสาทขอม แนวคิดทางอภิปรัชญาของปราสาทขอมในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ปราสาทหินพิมาย และปราสาทหินพนมวัน เป็นสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และส่าคัญเป็นแบบอย่างคุณค่าที่ซ้อนอยู่ใน อภิปรัชญาความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่คุณค่าทางด้าน สุนทรียศาสตร์ คุณค่าทางด้านจิตใจ คุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าทางด้านภูมิปัญญา แล ะ คุณค่าทางด้านสังคม ผลของความเชื่อเชิงอภิปรัชญา น่าไปสู่ ความรู้ที่เป็นความจริง ความดีและความ งาม สรุปเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญาที่มีต่อปราสาทขอมในจังหวัดนครราชสีมา คือ ๑) มนุษย์ ประกอบด้วยกายและจิต จิตเป็นผู้ใช้ กายเป็นผู้รับใช้ มนุษย์ไม่ควรเป็นทาสของวัตถุ แต่ต้องเป็นทั้ง นายของตนเองและของปราสาทขอม ๒) ความจริงนามธรรมของประสาทขอม เช่น ความดี ความงาม เป็นสิ่งตายตัวไม่ขึ้นกับกาลเวลา บุคคล สังคม สภาพแวดล้อม ๓) กฎเกี่ยวกับความจริงนามธรรม เกี่ยวกับปราสาทขอมเป็นกฎสากล เป็นเช่นนั้นเสมอ ๔) การที่คนเราให้มาตรฐานคุณค่าแตกต่างกัน ของปราสาทขอม เป็นเพราะยังเข้าไม่ถึงความจริงแท้ เมื่อเข้าถึงแล้วก็จะพบความจริงสากลเดียวกัน เช่นความจริงที่ศาสตร์ทั้งหลายสั่งสอนเป็นความจริงอย่างเดียวกัน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/816
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-041 พระยุทธนา อธิจิตฺโต.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.