Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/815
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมูลยาพอ, เจษฎา-
dc.contributor.authorสินธุ์นอก, บุญส่ง-
dc.contributor.authorนามเกตุ, สมเดช-
dc.contributor.authorวรญาโณ, พระมหาปริญญา-
dc.date.accessioned2022-03-31T05:48:31Z-
dc.date.available2022-03-31T05:48:31Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/815-
dc.description.abstractรายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย เพื่อศึกษาการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เพื่อประมวลองค์ความรู้แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ แนวคิดสุขภาวะแบบองค์รวม แนวคิดสวัสดิการสังคม แนวคิดพระพุทธศาสนากับการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ จากคัมภีร์ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อยกับ ชุมชนต่างๆ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า ๑. ผลการศึกษาสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในจัวหวัดหนองคาย พบว่า วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงมากทั้งร่างกายและจิตใจ สังคมสิ่งแวดล้อม เป็นวัยที่บั้นปลายของชีวิต ภาวะซึมเศร้าจะทาให้คุณภาพของผู้สูงอายุลดลง และนอกจากนี้ยังจะทาให้โรคทางกายเช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอดอักเสบ และอัมพาตบรรดาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดกับผู้สูงอายุหรือแม้สาเหตุทางกายและสาเหตุทางจิตใจ หรือการทาให้รู้สึกว่าเศร้า การรู้สึกเซ็ง หรือเศร้า หรือการเสียใจ หรือการหงุดหงิด โดยไม่มีเหตุผล รู้สึกเบื่อหน่าย เบื่ออาหาร หรือกินมาก นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกหมดหวัง มองตนเองไม่เห็นคุณค่า สมาธิสั้น รู้สึกกระวนกระวาย เบื่อหน่ายชีวิตหรือเบื่อชีวิต ต้องการด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี ต้องการให้ครอบครัวดูแลผู้สูงอายุด้วยการออกไปเดิน หรือ ออกไปออกกาลังกาย เพราะครอบครัวก็เป็นส่วนหนึ่งเช่นเดียว การที่ผู้สูงอายุและเดินหรือออกกาลังกายไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า หรือตอนเย็น ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกาย เรียกว่าปฏิกิริยา และการปรับตัวขึ้นในทาให้สมรรถภาพทางรร่างกายเพิ่มขึ้น ๒. ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย การสร้างอารมณ์ให้เบิกบาน โดยการแสวงหาสถานที่ที่เป็นที่สัปปายะเพื่อสะดวกแก่การสร้างอารมณ์ให้เบิกบานโดยเฉพาะวัด เพราะวัดเป็นรมณีย์สถาน คือ บรรยากาศของ ข พระพุทธศาสนา เรื่อง บรรยากาศ และสภาพแวดล้อมอันเป็นรมณีย์ได้พูดวัดเป็นภูมิสถานถิ่นนี้เป็นที่รมณีย์ มีไพรสณฑ์ ร่มรื่น น่าชื่นบาน ทั้งมีแม่น้้าไหลผ่านน้้าใส เย็นชื่นใจ ชายฝั่งท่าน้้าราบเรียบ เป็นรมณีย์ ทั้งโคจรคามก็มีอยู่โดยรอบ เป็นสถานที่ เหมาะจริงหนอที่จะบ้าเพ็ญเพียร ๓. ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย พบว่า ผู้สูงอายุสามารถน้าหลักธรรมคือ ภาวนา ๔ คือ ๑. กายภาวนา คือ การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ, การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 2. สีลภาวนา คือการเจริญศีล, พัฒนาความประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน 3. จิตภาวนา คือ การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น 4. ปัญญาภาวนา การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถท้าจิตใจให้เป็นอิสระ ท้าตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญาen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาสุขภาพจิตen_US
dc.subjectจังหวัดหนองคายen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.titleการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคายen_US
dc.title.alternativeThe Development Mental well-being Older Adults Way of Buddhist Life in Nongkhai Provinceen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-025ผศ.ดร.เจษฎา มูลยาพอ.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.