Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/812
Title: การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา
Other Titles: The Tourist Efficient Development of Temples and Community in Lanna
Authors: ศรีปรัชยานนท์, สมจันทร์
ปันลำ, จีรศักดิ์
ปัญโญ, อาภากร
Keywords: การพัฒนาศักยภาพ
การท่องเที่ยว
วัดและชุมชน
ล้านนา
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนใน ล้านนา ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา ๓) เพื่อศึกษา วิเคราะห์การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา โดยวิจัยเชิงบูรณาการทั้ง แบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างกลุ่มประชากร ๔๐๐ คนและสัมภาษณ์เชิงลึก พระสังฆาธิการ พระสงฆ์ ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวของและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อนามา วิเคราะห์การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนเป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชน และนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพวัดและชุมชน คือ ๑) การพัฒนาศักยภาพ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ๒) การพัฒนาศักยภาพด้านการเมืองในการบริหาร จัดการของวัดและชุมชน ๓) การพัฒนาศักยภาพทางด้านสังคมที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม จารีต ขนบธรรมเนียมและประเพณี ๔) การพัฒนาศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมให้ชุมชนรู้จัก คุณค่าและอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี เป็น การสร้างรายได้แก่ชุมชม และเผยแพร่คุณค่า เอกลักษณ์ของชุมชนให้ประจักษ์แก่สาธารชนได้รับรู้และ เรียนรู้ นอกจากนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชน ในล้านนาเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิป๎ญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการสร้าง รายได้/วิถีชีวิตชุมชนดีขึ้น และเป็นการตอบสนองความต้องการชุมชนในการฟื้นฟูความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนา ศักยภาพของวัดและชุมชนในล้านนา ดังนี้ ๑) ทรัพยากร การพัฒนาศักยภาพของวัดและชุมชนใน ล้านนานั้นจะต้องมีแหล่งท่องเที่ยวต่างที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ความงดงาม/ ภูมิทัศน์ การอนุรักษ์และการบริการ/ความสะดวก/ความปลอดภัย ๒) บริหารคน บุคลากรที่อาศัย อยู่ในชุมชนเป็นป๎จจัยสาคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ประกอบด้วย บุคลากร ความรู้ จิต อาสาและระเบียบวินัย/ข้อบังคับ ๓) การจัดการ เป็นการดาเนินงานหรือปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กาหนดไว้ ในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนดาเนินไป ตามแผนที่วางไว้และแนวทางที่จะไปถึงเปูาหมายได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษาพบว่า การพัฒนา ศักยภาพวัดและชุมชนจะต้องมีการดาเนินตามขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนา ๔) กิจกรรมเชิงพุทธ การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักทางพระพุทธศาสนาผ่าน กิจกรรมเชิงพุทธ ด้านความเชื่อดั้งเดิมที่หล่อหลอมคุณค่าทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณีอันดีงามของวัดและชุมชน ได้แก่ ความเชื่อ วิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรม/ประเพณี กิจกรรมพุทธวิถี การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนเป็นการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่นและเผยแพร่คุณค่าของภูมิป๎ญญาของชุมชน โดยเริ่มจากการ ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในชุมชน การจัดการคนในชุมชน การบริหารจัดการและกิจกรรมเชิง พุทธ เพื่อให้เป็นการพัฒนาศักยภาพที่ยั่งยืนและส่งเสริม สนับสนุนคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี แบบแผนดั้งเดิมของชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อชุมชนและ นักท่องเที่ยวให้เกิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/812
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-036 สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.