Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/810
Title: ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม: ประวัติศาสตร์ เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักพุทธธรรมในสมัยอยุธยา
Other Titles: Cultural Geography: History, Propagation Routes of Buddhism, and Principle of Buddhadhamma in Ayuttaya period
Authors: ศรีทอง, ธนู
โสดาดี, บรรจง
บริบูรณ์, บูรกรณ์
Keywords: ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สมัยอยุธยา
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา เพื่อศึกษาเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา และเพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการดาเนินการวิจัย ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากแหล่งค้นคว้าห้องสมุดและสื่ออินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีสารสนเทศ ศึกษาในภาคสนามเพื่อการรวบรวมข้อมูล สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการ และประชุมกลุ่มย่อย ใช้วิธีวิเคราะห์แบบบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธศาสนแบบเถรวาท เริ่มต้นจากการเผยแผ่จากประเทศอินเดียสู่สุวรรณภูมิ สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย และล้านนา จนถึงสมัยอยุธยา โดยมีเหตุการณ์และเรื่องราวเกี่ยวกับการพระพุทธศาสนาที่สาคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ การออกทรงผนวชเป็นการสืบพระราชประเพณี มีการสร้างและสถาปนาวัดที่วัตถุประสงค์แตกต่างกันไปเป็นจานวนมาก เช่น วัดพุทไธศวรรย์ วัดป่าแก้ว วัดพระราม เป็นต้น พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา มีทั้งความเจริญรุ่งเรือง ความทรงตัว และการเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ เนื่องด้วยเหตุปัจจัยที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ได้แก่ การที่พระสงฆ์มีความใส่ใจในการศึกษาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การปกครองประเทศโดยสมบูรณายาสิทธิราชและการติดต่อกับต่างประเทศ การนับถือพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาว่าพระพุทธศาสนาในสมัยนี้ไม่สู้โน้มไปในหลักธรรมชั้นสูงนัก โดยมากสนใจมุ่งไปแต่เรื่องการบุญการกุศล บารุงพระสงฆ์ สร้างวัดวาอาราม ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ พิธีกรรม งานฉลอง งานนมัสการ เช่น ไหว้พระธาตุและพระพุทธบาท เป็นต้น การบาเพ็ญจิตภาวนาก็เน้นไปข้างความขลังศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มีเรื่องไสยศาสตร์ อาถรรพย์เข้ามาปะปนเป็นอันมาก มีการส่งพระสมณทูตไทยไปประเทศศรีลังกาจนทาให้เกิดสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์มาจนกระทั่งทุกวันนี้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยามีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ ก่อให้เกิดเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช มหายาน เถรวาทแบบพุกาม และเถรวาทแบบลังกาวงศ์ รวมถึงอิทธิพลด้านพระพุทธศาสนาของอาณาจักรต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนสมัยอาณาจักรอยุธยา ได้แก่ อาณาจักรละโว้ อาณาจักรอู่ทอง และอาณาจักรสุโขทัย เป็นผลทาให้พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยากลายเป็นพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่ผสมกลมกลืนกับพระพุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาอื่น ๆ อย่าง ลงตัว เห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โบราณสถาน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และวรรณกรรม หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยอยุธยา พบได้จากการสถาปนาวัด สร้างวัด ปฏิสังขรณ์วัด สร้างสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานวรรณกรรม เป็นจานวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยอยุธยา ประกอบด้วย บุคคลหาได้ยาก ๒ ได้แก่ บุพการี กตัญญูกตเวที หลักทิศ ๖ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ต่างปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกัน ได้แก่ ปุรัตถิมทิศ ทักษิณทิศ ปัจฉิมทิศ อุตตรทิศ เหฏฐิมทิศ อุปริมทิศ หลักทศพิธราชธรรม ได้แก่ ทาน ศีล ปริจจาคะ อาชชวะ มัททวะ ตปะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ อวิโรธนะ อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศรัทธา ๔ ได้แก่ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา ตถาคตโพธิสัทธา หลักพระพุทธคุณ ๓ ได้แก่ ปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ กรุณาคุณ หลักบูชา ๒ ได้แก่ อามิสบูชา ปฏิบัติบูชา คารวธรรม ๖ ได้แก่ สัตถุคารวตา ธัมมคารวตา สังฆคารวตา สิกขาคารวตา อัปปมาทคารวตา ปฏิสันถารคารวตา ทศบารมี ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐษน เมตตา และอุเบกขา
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/810
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-134 ธนู ศรีทอง.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.