Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/809
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุวณฺณรูโป, พิษณุพล-
dc.contributor.authorวรกิตฺติ, กีรติ-
dc.contributor.authorรตนปญฺโญ, อุทัย-
dc.date.accessioned2022-03-30T17:29:43Z-
dc.date.available2022-03-30T17:29:43Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/809-
dc.description.abstractรายงานการวิจัยเรื่อง “กระบวนการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปางสู่สถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ตามหลักคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณนครลำปาง ๒) เพื่อศึกษากระบวนการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณนครลำปาง ๓) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปางของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative method) และข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative method) ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จากผลการวิจัยพบว่า กระบวนการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมตามหลักคำสอนในคัมภีร์โบราณนครลำปาง ในการวิจัยครั้งนี้ กำหนดเอาคัมภีร์ ๓ ฉบับ ได้แก่ คัมภีร์ วัดไหล่หิน และคัมภีร์วัดบ้านหลุก คือหลักการปฏิบัติเพื่อการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องปมาทธรรม, เรื่องสามป๋ง สามกิ่ว และเรื่องธรรมดาสอนโลก สาระสำคัญของเนื้อหาแต่ละเรื่อง มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับหลักการทางพระพุทธศาสนา และรวบรวมเป็นชุดความรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปางของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ผ่านการจัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังบรรยาย ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม ทั้ง ๓ เรื่อง สรุปข้อคิดโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากส่งเสริมการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมมีผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สูงที่สุด รองลงมา คือ เพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น รองลงมา คือ นักเรียนที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย การประเมินผลการเรียนรู้ (ก่อนการเรียนรู้) ทั้ง ๓ ด้านมีค่าเฉลี่ย ด้านจิตใจโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Χ) ๒.๔๒ อยู่ในระดับน้อย ด้านสติปัญญา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Χ) ๒.๔๑ อยู่ในระดับน้อย ด้านพฤติกรรม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Χ) ๒.๖๒ อยู่ในระดับน้อย ในส่วนของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเกี่ยวกับกระบวนการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมตามหลักคำสอนในคัมภีร์โบราณนครลำปาง ของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ (หลังการเรียนรู้) ทั้ง ๓ ด้าน ด้านจิตใจ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Χ) ๔.๐๒ อยู่ในระดับมาก ด้านสติปัญญา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Χ) ๔.๐๗ อยู่ในระดับมาก ด้านพฤติกรรม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Χ) ๔.๑๑ อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้คัมภีร์โบราณ พบว่า ผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้คัมภีร์โบราณมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้คัมภีร์โบราณครั้งนี้ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Χ) ๔.๐๑ อยู่ในระดับมาก คำสอนในคัมภีร์โบราณทั้งสามเรื่อง สามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีในการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย ๓ ได้แก่ ด้านที่ ๑ แบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตน ด้านที่ ๒ หลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันหรือมารยาททางสังคม ด้านที่ ๓ ความเชื่อทางศาสนา จากคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์ ผู้วิจัยได้นำมาสร้างเป็นชุดความรู้เพื่อการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ผลจากการทดลองใช้ชุดความรู้ดังกล่าว พบว่า นักเรียนเกิดความสนใจต่อการเรียนรู้ในคัมภีร์โบราณ และสามารถนำเอาหลักคำสอนในคัมภีร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และยังเป็นการต่อยอดในการเรียนรู้ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้นำหลักคำสอน และคติ ความเชื่อไปถ่ายทอดให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ในระบบการเรียนรู้ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาให้อยู่ในคุณธรรมจริยธรรมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการเรียนรู้en_US
dc.subjectการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectคัมภีร์โบราณนครลำปางen_US
dc.subjectสถาบันการศึกษาen_US
dc.titleกระบวนการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปางสู่สถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeThe Learning process and cultural refining in the ancient texts of the educational institution in Lampangen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-241 พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป (1).pdf15.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.