Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/808
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมูลยาพอ, เจษฎา-
dc.contributor.authorสินธุ์นอก, บุญส่ง-
dc.contributor.authorนามเกตุ, สมเดช-
dc.contributor.authorวรญาโณ, ปริญญา-
dc.date.accessioned2022-03-30T17:16:18Z-
dc.date.available2022-03-30T17:16:18Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/808-
dc.description.abstractการวิจัย เรื่อง บุญข้าวประดับดิน:ประวัติพัฒนาการและอิทธิพลที่มีต่อชาวจังหวัดหนองคายมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการทาบุญข้าวประดับดินในบริบทสังคม 2. เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของบุญข้าวประดับดินในจังหวัดหนองคาย 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของบุญข้าวประดับดินที่มีต่อการดาเนินชีวิตของชาวจังหวัดหนองคาย มีวิธีการศึกษา ในการดาเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวิธีการศึกษาโดยได้กาหนดขอบเขตการวิจัยไว้ 2 ด้านคือ (1) ขอบเขตด้านพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้จะทาการศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวประดับดินของชาวพุทธในเขตเทศบาลเมืองหนองคายเท่านั้น (2) ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูลเอกสารจะศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่วนข้อมูลภาคสนามจะศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้รู้และประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ด้วยการสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ได้แก่ พระธรรมมงคลรังสี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย และพระราชพุฒิมุนี เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย พระราชรัตนาลงกรณ์,ดร. และพระศรีญาณวงศ์.ดร., พระศรีวชิรโมลี รองเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย 2. กลุ่มตัวอย่างที่ดาเนินการสนทนากลุ่มย่อย ได้แก่ พระสงฆ์ในระดับเจ้าอาวาสในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ไวยาวัจจกรณ์ และอุบาสกอุบาสิกา โดยวิธีการเจาะจง ผลจากการศึกษา ตามวัตถุประสงค์การศึกษาการทาบุญข้าวประดับดินในบริบทสังคมอีสาน โดยเฉพาะในจังหวัดหนองคาย ผลการวิจัยพบว่า การทาบุญข้าวประดับดินในจังหวัดหนองคายยังมีการดาเนินการตามวิถีชีวิตของชาวชุมชนจังหวัดหนองคาย จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทาบุญในเรื่องนี้ ยังยึดถือและปฏิบัติเพื่อเป็นแนวเพื่อเป็นการส่งเสริมด้วยการทาความดี การทาบุญอุทิศให้แก่ญาติที่ได้ล่วงลับไปแล้ว และยังเป็นการเสียสละ ของญาติซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ โดยเฉพาะเรื่องความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม โดยทางตรงคือ การทาบุญแก่พระสงฆ์ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญ ซึ่งหมายถึง หลักการสงเคราะห์หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้ หมายถึง บุตรพึงปรนนิบัติมารดาบิดา คือ 1) ทาน การให้(สิ่งของ)แก่มารดาบิดา 2) เปยยวัชชะ พึงเจรจาแต่คาที่น่ารัก 3) อัตถจริยา พึงประพฤติประโยชน์ด้วยการทาหน้าที่(ของท่าน)ที่เกิดขึ้นให้สาเร็จ 4) สมานัตตตา ความเป็นผู้ประพฤติยาเกรงต่อผู้ใหญ่ทั้งหลาย ส่วนโดยทางอ้อมเป็นการเสียสละ การให้ทานแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยิ่งมีผล ผู้มีความขยันหมั่นเพียรอันตนบรรลุแล้ว การให้ทานเป็นประโยชน์สาเร็จได้จริง แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ ให้ประโยชน์สาเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ได้ธรรมแล้วก็ยิ่งเป็นการดี แม้ในสัตว์ทั้งหลายก็ยิ่งเป็นการดี ทานที่บุคคลเลือกให้ก็ยิ่งเป็นการดี ผลจากการศึกษา ประวัติและพัฒนาการของบุญข้าวประดับดินในจังหวัดหนองคาย ว่าบทบาทของพระสงฆ์ยังมีความเป็นผู้นาเพื่อแสดงให้เห็นว่า การทาบุญแก่ญาติที่ได้ล่วงลับไปแล้วนั้น หลายท่านได้ให้ความเห็นว่า การทาบุญเป็นเรื่องเสียสละ เพื่อความสบายใจ และไม่เป็นเรื่องลาบากใจแต่อย่างใด ยิ่งมีพระสงฆ์ผู้ทรงศีลเป็นทักขิเณยยะแล้วและเป็นการแสดงออกถึงความสมัครสมานสามัคคี เห็นความสาคัญต่อการแสวงหา การนามาและการเอาใจใส่ และการราลึกนึกคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป ด้วยการเห็นกระบวนการที่ทาด้วยความจริงใจ เป็นการสร้างความสาคัญต่อบรรพบุรุษ ซึ่งจะเป็นการรักษาประเพณีที่ชาวไทยได้จัดทามาของบุญเดือน 9 หรือบุญข้าวสาก เป็นการสะท้อนเพื่อทาให้ผู้คนมีความซื่อสัตย์ มีวัฒนธรรม การสมัครสมานสามัคคียินดีรักใคร่ใยดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกัน การให้ความเคารพต่อกันและกัน และความกตัญญู รู้คุณและการตอบแทนคุณท่าน ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะ จากข้อค้นพบ สังคมไทยเป็นสังคมกสิกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเพาะปลูกข้าวมาแต่โบราณ เพราะข้าวเป็นทั้งพืชและเป็นทั้งอาหารหลักและพืชเศรฐกิจหลักที่สาคัญสุด การที่ข้าวมีความผูกพันกับคนไทยทั่วทุกภาคอย่างใกล้ชิด จนกระทั้งถึงปัจจุบันที่คนไทยมีนับถือว่าข้าวว่าเป็นสิ่งสูงมีค่า มีบุญมีคุณยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต เพราะเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตของเผ่าชนชาวไทยยั่งยืนนานมาแต่โบราณ การนาเอาข้าวไปประกอบโดยการเห็นคุณค่าของข้าวที่สูงส่งในทางจิตวิญญาณ โดยการนาเอาข้าวเพื่อเป็นตัวแทนต่อวิญญาณบรรพบุรุษ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้มารับคือข้าวปลาอาหาร เป็นเครื่องสังเวยต่อวิญญาณบรรพบุรุษ โดยพระสงฆ์มีบทบาทในกระบวนการที่จะทาให้ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วม การแสดงออกถึงความกตัญญู การเสียสละของอนุชนรุ่นหลังที่จะได้ดาเนินเพื่อสืบสานประเพณีที่เป็นเสมือนการเชื่อมต่อระหว่างคนที่ยังมีชีวิตอยู่กับคนที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว เพราะการเข้าใจการเห็นความสาคัญถือว่า การไม่สามารถคัดขาดจากกันได้ เพื่อเป็นการระลึกราลึกถึงความดีที่ ได้อาศัยความเป็นพ่อ ความเป็นแม่ ความเป็นลูกชาย ความเป็นลูกหญิง เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว ถึงที่เหลือไว้คือ ความดีที่ควรเทิดทูนและบูชา หากว่าสังคมที่เป็นเปลี่ยนไปจนอาจลืมมองย้อนและนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นกิจกรรมที่ควรสืบสานและสืบทอดการรักษา เป็นการให้ความรู้หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้อตีดสู่ปัจจุบัน การรักษาที่ชุมชนได้ปฏิบัติมาโดยการใช้บุญข้าวประดับดินเป็นสื่อเพื่อสะท้อนถึงความกตัญญูความเป็นคนกตัญญู ความเป็นผู้รู้คุณ โดยรู้คุณและตอบแทนหรือสนองคุณท่าน เพราะท่านมีความดีen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectประวัติen_US
dc.subjectบุญข้าวประดับดินen_US
dc.subjectพัฒนาการen_US
dc.subjectอิทธิพลen_US
dc.subjectจังหวัดหนองคายen_US
dc.titleบุญข้าวประดับดิน:ประวัติพัฒนาการและอิทธิพลที่มีต่อชาวจังหวัดหนองคายen_US
dc.title.alternativeTHE Bunkhaow Pradabdin Ceremony: Development and influence for Nongkhai Peoplesen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-140 เจษฎา มูลยาพอ.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.