Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/807
Title: กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน
Other Titles: Management Process of community enterprises for Sustainable Development Case Study : Enterprise Community in Nan Province
Authors: ยรรยงค์, ธัชพล
กิตฺติเมธี, พระมหากิตติ
องฺกุรสิริ, พระมหาอนันต์
Keywords: กระบวนการบริหารการจัดการ
วิสาหกิจชุมชน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน ๒. เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหาร จัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน ๓. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) โดยได้ทาการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่กาหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า มีการดาเนิน กิจกรรมด้วยการนาภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน มี บริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการแบ่งโครงสร้างการทางาน การผลิต/ทรัพยากรการผลิต เน้นคนในชุมชน ร่วมกันระดมความคิด เพื่อการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้ การเงิน/บัญชี มีการบริหาร จัดการการเงินและบัญชีที่เป็นระบบและตรวจสอบได้ มีการเปิดเผยข้อมูลการเงิน บัญชีอย่างสม่าเสมอ การตลาด เน้นจัดจาหน่ายสินค้าของวิสาหกิจชุมชน มีจาหน่ายทั้งปลีกและส่ง ภายใน/ต่างจังหวัด ตลาด Online และตลาดต่างประเทศ และมีการกาหนดกฎระเบียบหรือข้อตกลง ให้ความสาคัญกับ การจัดสรรผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน มีการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชนอย่างเหมาะสม ๒. การวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า (Plan) การวางแผน ชาวบ้านเกิดการริเริ่มรวมกลุ่มกัน ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน และพัฒนากระบวนการอย่าง มีขั้นตอน ด้วยการวางแผนอย่างมีส่วน (Do) การลงมือปฏิบัติ วิสาหกิจชุมชนมีโครงสร้างการบริหาร องค์กรที่ชัดเจน และการบริหารจัดการคนให้เหมาะสมกับบทบาท (Check) การตรวจสอบ เพื่อความ โปร่งใสในการดาเนินงาน มีกฎระเบียบ หรือข้อตกลง ข้อบังคับ ในการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชน เน้นการจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิกให้ (Action) ดาเนินการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา จาเป็นต้อง ยกระดับปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานภูมิปัญญาสากล มีการพัฒนา เครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการจัดเก็บภูมิปัญญาเกี่ยวกับ สมุนไพรและทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนอย่างมีระบบต่อไป ข ๓. แนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มต้องเป็นผู้มีบทบาทสาคัญ เป็นแกนนาผลักดันให้กลุ่มมีความเข็ม แข็ง โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ผลิตภัณฑ์ชุมชนต้องมี อัตลักษณ์ นาเสนอ Story เรื่องราวความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ ที่แสดงถึงความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้าง คุณค่าและมูลค่าเพิ่มของสินค้า สู่ Smart Product และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีความทันสมัย เพื่อเพิ่มกระบวนการผลิตสินค้าให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และการพัฒนาช่องทางการตลาด พัฒนาช่อง ทางการจัดจาหน่ายเพื่อเพิ่มฐานกลุ่มลูกค้าให้มีความหลากหลาย เช่น เว็บไซต์ Line Facebook Appication และสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เป็นต้น สมาชิกทุกคนต้องได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็น ธรรม สมาชิกสามารถดารงชีพอยู่ได้ ภายใต้การส่งเสริมอาชีพของวิสาหกิจชุมชน เมื่อมีงาน มีรายได้ ชุมชนก็ได้รับประโยชน์จากวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ด้วยรายได้ที่ได้จากการประกอบ อาชีพที่ย้อนคืนไปสู่สังคม นามาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/807
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-126นายธัชพล ยรรยงค์.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.