Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/804
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระสุธีรัตนบัณฑิต, (สุทิตย์ อาภากโร)-
dc.contributor.authorพระครู, โสภณพุทธิศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-30T14:55:57Z-
dc.date.available2022-03-30T14:55:57Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/804-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัย “อัตลักษณ์ทางศาสนา : รูปแบบการสื่อความหมายเพื่อสร้างสันติภาพของ ประชาคมอาเซียน” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด วิถีปฏิบัติ และอัตลักษณ์ ทางศาสนาของประชาคมอาเซียน๒) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อความหมายทางศาสนาเพื่อสร้างความ เข้าใจเชิงสันติของประชาคมอาเซียน และ ๓) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ ความขัดแย้ง สิทธิมนุษยชน และการสื่อความหมายทางศาสนาเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงสันติของประชาคมอาเซียน การวิจัยในครั้ง นี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงเอกสารและคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้นาทางศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน ๓๐ รูป/คนจาก ๕ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา มาเลเชีย อินโดนีเชีย และ ไทย แล้วนามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ โดยมีผลการศึกษาวิจัยดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า แนวคิด วิถีปฏิบัติ อัตลักษณ์และการอยู่ร่วมกันทางศาสนาของ ประชาคมอาเซียนนั้นมีหลักการจากศาสนาหลักอยู่ ๔ ศาสนา คือ พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์หรือ ฮินดู โดยมองว่าศาสนาเป็นกระบวนการหนึ่งของพัฒนาการทางสังคมที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ดังนั้น หลักคาสอนของแต่ละศาสนาจึงมีส่วนที่จะส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของศา สนิกชนอันเป็นหลักจริยธรรมพื้นฐานของสังคมมนุษย์ โดยทุกศาสนาล้วนให้ความสาคัญกับการพัฒนา ชีวิตและสังคม และมองว่าชีวิตแต่ละชีวิตล้วนมีส่วนสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกัน ฉะนั้น การแสดงถึงความ เป็นอัตลักษณ์ที่เฉพาะของการนับถือศาสนาในแต่ละประเทศหรือแต่ละสังคม ย่อมมีความหมายและ ระเบียบการปฏิบัติที่แตกต่างๆ การนาหลักการทางศาสนาที่มีความหลากหลายนั้นมาเป็นข้อขัดแย้ง ในสังคมย่อมจะไม่เกิดผลที่เหมาะสม แต่หากมีการยอมรับความหลากหลายในสังคมสังคมพหุ วัฒนธรรม ย่อมจะนาไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ บนพื้นฐานของความรัก ความเมตตา ความ ปรารถนาดีต่อกัน ซึ่งแต่ละศาสนามีแนวคิดและหลักปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในประชาคม อาเซียน โดยจะต้องมีกระบวนการสื่อความหมายเชิงสันติด้วยการเผยแพร่หลักธรรม-คาสอน การ สร้างอัตลักษณ์ การใช้หลักสิทธิมนุษยชนที่มีวาทกรรมเชิงสันติ เช่น “เป็นศาสนาแห่งสันติ” “เป็น ศาสนาแห่งความรัก”“เป็นศาสนาแห่งความสงบสุข”en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectอัตลักษณ์ทางศาสนาen_US
dc.subjectสันติภาพen_US
dc.subjectประชาคมอาเซียนen_US
dc.titleอัตลักษณ์ทางศาสนา : รูปแบบการสื่อความหมายเพื่อสร้างสันติภาพ ของประชาคมอาเซียนen_US
dc.title.alternativeReligious Identity: The Interpretation Model for Peace in ASEAN Communityen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-095 พระสุธีรัตนบัณฑิต.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.