Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/803
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกันทะสัก, มานิตย์-
dc.date.accessioned2022-03-30T14:51:33Z-
dc.date.available2022-03-30T14:51:33Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/803-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) เพื่อสร้างฐานพระพุทธรูปมหา โพธิปัญญา ด้วยเทคนิคการประดับกระจกแบบล้านนา ๒) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ใน การสร้างฐานพระพุทธรูปมหาโพธิปัญญา ด้วยเทคนิคการประดับกระจกแบบล้านนา ๓) เพื่อ ประเมินผลการมีส่วนร่วมในการสร้างฐานพระพุทธรูปมหาโพธิปัญญา ด้วยเทคนิคการประดับกระจก แบบล้านนา กับการสร้างงานพุทธศิลปกรรมของชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเน้นการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า การสร้างฐานพระพุทธรูปพระพุทธมหา โพธิปัญญาด้วยเทคนิคการประดับกระจกแบบล้านนา เป็นกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะการ ประดับกระจกแบบล้านนา แต่ได้ใช้เทคนิคการประดับกระจกแบบร่วมสมัย ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ฐาน พระพุทธรูปที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร ๔๐ เซนติเมตร ร่วมกับชุมชน เทคนิคการสร้างสรรค์ ลายประดับกระจกนั้นผู้สร้างมีความเชื่อว่า การประดับกระจกจะมี อานิสงส์ที่แรง เนื่องจากมีความ เชื่อว่า เป็นฐานบัลลังก์แก้วของพระพุทธเจ้า ทางด้านการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการ สร้างฐานพระพุทธรูปมหาโพธิปัญญา ด้วยเทคนิคการประดับกระจกแบบล้านนา ผู้วิจัยได้ใช้ กระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะมาร่วมใช้กับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกิจกรรมการ ประดับกระจก ประกอบด้วยกระบวนการด้าเนินงานที่สรุปได้ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การสร้าง ความสัมพันธ์และการศึกษาชุมชน ๒) การวางแผน ๓) การด้าเนินงานตามแผน และ๔) การติดตาม ประเมินผล และการประเมินผลการมีส่วนร่วมในการการสร้างฐานพระพุทธรูป ด้วยเทคนิคการประดับ กระจกแบบล้านนา กับการสร้างงานพุทธศิลปกรรมของชุมชน พบว่า ประชาชน และพุทธศาสนิกชนมี ส่วนร่วมในการสร้างฐานพระพุทธรูปมหาโพธิปัญญาด้วยเทคนิคการประดับกระจกแบบล้านนา โดย ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x = ๒.๙๕, SD = ๑.๒๕) และการให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ในการมี ส่วนร่วมในการสร้างฐานพระพุทธรูปโดยการประดับกระจกนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนร่วมกัน ปฏิบัติตามแผน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผนในด้านกิจกรรม ทางด้านพิธีกรรม ศาสนา เช่น การสวดมนต์ในระหว่างประดับกระจก และ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผนในด้านการ สนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectประดับกระจก,en_US
dc.subjectประดับกระจกแบบล้านนา,en_US
dc.subjectประดับธรรมen_US
dc.subjectฐานพระพุทธมหาโพธิปัญญาen_US
dc.subjectอุทยานธรรมลำน้ำงาวen_US
dc.titleประดับกระจก ประดับธรรม ร่วมสร้างสรรค์ฐานพระพุทธมหาโพธิปัญญา ณ อุทยานธรรมลำน้ำงาวen_US
dc.title.alternativeThe Dhamma Based Glass Decoration on Maha Photipanya Podium at Ngao Dhamma Parken_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-343 มานิตย์ กันทะสัก.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.