Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/802
Title: | การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศเมียนมาร์ |
Other Titles: | The Practical and Examination of Theravada Meditation in Myanmar |
Authors: | วิวิธขจร, บุณชญา |
Keywords: | การปฏิบัติ การสอบอารมณ์ กรรมฐาน พระพุทธศาสนาเถรวาท เมียนมาร์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | ายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติและแนวทางการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติและแนวทางการสอบอารมณ์กรรมฐาน 3 สานัก ในประเทศเมียนมาร์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องการปฏิบัติและแนวทางการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนากับสานักปฏิบัติธรรมในประเทศเมียนมาร์ โดยงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการศึกษา ๓ สานัก คือ สานักกรรมฐานของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) สานักกรรมฐานของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า และ ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติพะอ๊อก ตอยะ จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติและแนวทางการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เป็นไปตามแนวทางในหลักสติปัฏฐาน ๔ โดยเริ่มต้นจากสมถกรรมฐาน ตามแนวสมถยานิก หรือวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนววิปัสสนายานิก ทั้งนี้ต้องอาศัยการบ่มเพาะอินทรีย์ ๕ ประการมี ศรัทธา เป็นต้น และกล่าวได้ว่า การแสดงธรรมของพุทธองค์ส่วนใหญ่ ถือได้ว่าเป็นการสอบอารมณ์โดยอ้อม เพื่อให้บุคคลนั้นบรรลุธรรมขั้นสูงสุดที่จะพึงได้ โดยทรงวางแนวทางไปสู่สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นคาสอนที่ครอบคลุมหลักธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวิปัสสนาภาวนาทั้งหมด การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวทางวิปัสสนายานิก เป็นการกาหนดรู้ลักษณะของธาตุกรรมฐาน ซึ่งเป็นอารมณ์วิปัสสนาภาวนา เน้นการกาหนดรู้ทั้งในอิริยาบถใหญ่ และอิริยาบถย่อย งดเว้นการไม่ให้พูดคุยตลอดเวลา มีการสอบอารมณ์ทุกวัน สาหรับการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวทางสมถยานิก ด้วยการกาหนดรู้ในจุดกระทบของลมหายใจบริเวณโพรงจมูกโดยสมมุติเป็นพื้นที่สามเหลี่ยม เพียงแค่รับรู้เท่านั้น ไม่ต้องมีคาบริกรรมใดๆ จัดเป็นการเจริญอาณาปานสติซึ่งเป็นอารมณ์สมถภาวนา จนถึงวันที่สี่ของการปฏิบัติจะการรับรู้ลักษณะของธาตุซึ่งเป็นอารมณ์วิปัสสนาภาวนา โดยให้ไล่ความรู้สึกจากศีรษะลงไปทั่วกายสลับขึ้นลง ใช้อิริยาบถการนั่งเป็นหลัก มีข้อปฏิบัติไม่ให้พูดคุยตลอดเวลา ในการสอบอารมณ์ สามารถสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติได้กับเจ้าสานัก และไม่เน้นว่าจะต้องสอบอารมณ์ทุกวัน ส่วนการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานของศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติพะอ๊อก ตอยะ เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวทางสมถยานิก ด้วยการกาหนดรู้ในจุดกระทบของลมบริเวณโพรงจมูกเหมือนกับท่านอาจารย์โกเอ็นก้า เพียงแต่ต่างกันที่ของสานักโกเอ็นก้า แค่รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องบริกรรม จัดเป็นการเจริญอาณาปานสติซึ่งเป็นอารมณ์สมถภาวนา จนเกิดนิมิตแสง แล้วสามารถทิ้งลมหายใจ ได้เอง เน้นการนั่งเป็นเวลานานเพื่อให้เกิดสมาธิที่แก่กล้า ไม่เน้นการกาหนดอิริยาบถย่อย การสอบอารมณ์ เน้นว่าให้มีการสอบอารมณ์ทุกวันกับพระวิปัสสนาจารย์โดยตรง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/802 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-051 บุณชญา วิวิธขจร.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.