Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/801
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสร้อยสน, สี-
dc.contributor.authorบุตรราช, เกียรติศักดิ์-
dc.contributor.authorวุฑฺฒิธมฺโม, พระมหาจิตนเรศ-
dc.date.accessioned2022-03-30T14:47:18Z-
dc.date.available2022-03-30T14:47:18Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/801-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัย การวิเคราะห์ปรัชญาธรรมพื้นบ้านทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในหนังสือใบลานของจังหวัดอุบลราชธานี คือนิทานเรื่องท้าวเสียวสวาสดิ์ นิทานเรื่องนกจอกน้อย และนิทานเรื่องปัญญาปารมี ดังนี้ ผลการวิจัยนิทานเรื่องเสียวสวาสดิ์ พบว่าปรัชญาธรรม การครองเรือน หมายถึง ฆราวาสวิสัย ชีวิตชาวบ้านสามัญชนทั่วๆไป อันภาวะของชาวบ้านทั่วๆไป; คฤหบดีผู้เป็นใหญ่ในเรือน ในครอบครัว, พ่อเจ้าเรือน, ชาวบ้านผู้มีอันจะกิน มีการครองเรือน มีเศรษฐกิจพอเพียงไม่ขาดแคลน ภาษาถิ่นอีสานว่า ดึงหน้าไม่ถึงหลัง ขาดๆเขินๆ ผู้ครองเรือนที่พอเพียง ต้องมีคุณธรรม และหลักธรรมในการครองเรือนคือสัจจะความจริงใจ ทมะ ความฝึกฝนปรับปรุงตัวเอง ขันติ ความอดทน และจาคะความเสียสละ เผื่อแผ่แบ่งปัน มีเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะอยู่ในสังคมได้ด้วยความสุขตามสภาวะอันควรแก่ตน ผลการวิจัยเรื่องนกจอกน้อย พบว่าสภาพเหตุการณ์ตลอดระยะเวลาในช่วงการดำเนินวิถีชีวิตของนกทั้ง ๒ ตัว ผัวเมียตรงตามความหมายของปรัชญาธรรม ข้อนี้ที่ว่า ตายแล้วไปใหน? ตายแล้วเกิดใหม่ เกิดเป็นอะไร นก ๒ ตัวผัวเมียเกิดเป็นคน นกตัวผู้เกิดเป็นเจ้าชายวรจิตในผาสารทราชวัง ตามจิตอธิษฐานของตน ส่วนนกตัวเมียตายแล้วเกิดเป็นเจ้าหญิงจันทะจร ในผาสารทราชวังตามจิตอธิษฐานของตน ปุจฉาว่า เป็นได้ดังฤา? วิสัชนาว่าเป็นได้เพราะอิทัปปัจจยตา ๒ อย่างเกื้อกูลกัน ปัจจัยหนึ่งคือแรงอธิษฐานจิตของคนทั้งปรารถนาให้เป็นเช่นนั้น ปัจจัยสอง คือผลกรรมที่ทำเอาไว้ อุทธาหรณ์นี้ นกเกิดเป็นคน ผลการวิจัยพบว่าสาระสำคัญของนิทานพื้นบ้านอีสานเรื่องปัญญาบารมี ๑๐ ทัศ ได้กล่าวถึงคุณธรรมอันสูงส่ง อันมีทานบารมี เป็นเบื้องต้น และมีอุเปกขาบารมีเป็นที่สุด เหตุดังนั้น จึงมี...โภ สาธโว ดูรา สับปุริสาทั้งหลาย พระปัญญาบารมี ๑๐ ทัศ ของพระพุทธเจ้าแห่งเฮาทั้งหลายนี้หากเป็นข้าวของอันบุคคลกล่าวว่า ประเสริฐกว่าแก้วมณีโชติ แห่งพระยาจักรติราชนั้นแล อันโลกทั้งหากสมมุติว่า เป็นมุงคุลอันประเสริฐ แท้จริงในกาลตลอดไป พระปัญญาบารมีนี้ มีแก่บุคคละผู้ใด เพียรย่อม(ย่อม) พิทักษ์รักษา บุคคละผู้นั้น ให้จำเริญสมบัติในเมืองคนนั้น เพราะเดชะ พระปัญญาบารมีนั้น จักบันดาลให้บุคคลผู้นั้น ที่รักษาพระปัญญาบารมีนั้น มีอายุมั่นยืน มีวรรณะเนื้อตนอันงามเป็นที่ฮักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย สุขัง พะลัง บุคคลผู้นั้นก็ประกอบสุขและกำลังเรี่ยวแรงยิ่งนั้น ก็จำเริญด้วยสติปัยญา ย่อมรอบรู้ยังกิจอันผิดอันชอบ อันหนัก อันเบา มีจิตใจเบิกบานชมชื่นยินดี มากนักเป็นประดุจดอกบัวอันบาลงาม ในสระน้ำอันลึกและใสเย็น ปากต้านจารจาก็เป็นที่หม่วนเพราะไพเราะเสาะใส ยิ่งนักหนา เหตุดังนี้ จึงได้ชื่อว่า พระปัญญาบารมีอันประเสริฐกว่าแก้วมณีโชติแห่งพระยาจักรพรรดิ นั้นโดยแท้แล แก้วมณีโชติชื่นชมเฉพาะพระเจ้าจักรพรรดิ์ เท่านั้นแต่ปัญญาบารมีนี้ชื่นชมทั้งมนุษย์และเทวดาโดยแท้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectปรัชญาธรรมพื้นบ้านen_US
dc.subjectหนังสือใบลานen_US
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาธรรมพื้นบ้านทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในหนังสือใบลานของจังหวัดอุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativeAn Analytical Study of the Local – Buddhist Doctrines as Appearing In the Palm – Leaves in UbonRajathani province.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-007 นายสี สร้อยสน.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.