Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/800
Title: | อัตวินิบาตกรรม : แนวทางแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายของคนในสังคมไทย ตามหลักพุทธจริยธรรม |
Other Titles: | Suicide: Buddhism-based Moral Solution to Suicide Issues in Thai Society |
Authors: | ปิยภาณี, นันทกรณ์, |
Keywords: | อัตวินิบาตกรรม แนวทางแก้ปัญหาการฆ่าตัวตาย สังคมไทย หลักพุทธจริยธรรม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “อัตวินิบาตกรรม : แนวทางแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายของคนในสังคมไทย ตามหลักพุทธจริยธรรม” มีวัตถุประสงค์อยู่ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวคิดใน การตัดสินใจทาอัตวินิบาตกรรม ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายของ คนในสังคมไทย และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายของคนในสังคมไทยตามหลักพุทธ จริยธรรม จากการศึกษาทาให้ทราบว่า การฆ่าตัวตายเกิดจากสภาพปัญหาและแรงจูงใจที่พอสรุปได้ ๓ ดังนี้คือ ๑) เกิดจากสภาพ สังคม คือ สถาบันทางสังคมที่สับสน มีการแก่งแย่งชิงดี ชิงเด่น ผู้คนในสังคมต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความ อยู่รอด ผู้ที่อ่อนแอกว่าจะอยู่ในสังคมได้ยาก ผลที่ตามมาก็คือความคับแค้นใจในโชควาสนาและการ กระทาของตนเอง ในที่สุดก็ฆ่าตัวตาย สถาบันครอบครัวก็ถือเป็นองค์ประกอบสาคัญที่จะกระตุ้นให้ฆ่า ตัวตายได้ ๒) เกิดจากสภาพร่างกาย ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงหรือมีแนวโน้มจะกระทาการฆ่าตัวตายนั้น ส่วน ใหญ่มักเป็นบุคคลที่มีสภาพร่างกายไม่สมประกอบ มีความพิการ หรือบุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มีทางรักษาให้หายได้หรือยากแก่การรักษา ในที่สุดก็ตัดสินชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย และ ๓) เกิดจาก จิตใจหรือสุขภาพจิตเสื่อมโทรม ได้แก่ความผิดปกติด้านจิตใจ ซึ่งเป็นผลจากความล้มเหลวในชีวิต ไม่ ว่าจะเป็นสูญเสียของรัก เสียฐานะทางสังคม เกียรติยศชื่อเสียง หน้าตา แล้วไม่สามารถจัดการกับ ความตึงเครียดเหล่านี้ได้ ทาให้ตกอยู่ในสภาพเศร้าโศกเสียใจ หดหู่เศร้าหมอง ท้อแท้หมดกาลังใจ สิ้น หวังและรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า จึงจะเลือกวิธีการทาลายตนเองเพื่อหลีกหนีปัญหา ในส่วนของปัจจัยจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายของคนในสังคมไทย จาก การศึกษาพบว่า มีปัจจัยจิตสังคมหลายประเภทที่มีความสัมพันธ์การฆ่าตัวตาย อาทิ ๑) ปัจจัยด้าน การทารุณกรรม ๒) ปัจจัยด้านการสูญเสีย ๓) ปัจจัยด้านครอบครัว ๔) ปัจจัยด้านความเครียดจาก เหตุการณ์ในชีวิต ๕) ปัจจัยด้านผลกระทบจากสภาวะแวดล้อม และ ๖) ปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ทาให้ ตัดสินใจฆ่าตัวตายง่ายขึ้น เช่น ความบกพร่องในการปรับตัวเข้ากับสังคม การมองตนเองในแง่ลบและ ไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง การขาดความเคารพตนเอง และการอยู่ร่วมกับสังคม เป็นต้น ประการสุดท้ายคือแนวทางแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายของคนในสังคมไทยตามหลักพุทธ จริยธรรม จากการศึกษาพบว่า แนวทางแก้ปัญหาควรดาเนินตามกระบวนพัฒนาตามหลักอริยสัจ ๔ โดยแบ่งเป็น ๔ ระดับการพัฒนาดังนี้คือ ๑) ระดับปัญหา ได้แก่การลดปัจจัยเสี่ยงทั้งทางกายภาพและ จิตภาพอันเป็นปัญหานาไปสู่การทาอัตวินิบาตกรรม ๒) ระดับตัวบงการ ได้แก่การป้องกันตัณหาซึ่ง เป็นตัวสร้างความอยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากตาย อันเป็นสมุฏฐานของปัญหาทั้งปวง ๓) ระดับ หมดปัญหา ได้แก่ภาวะจิตที่ปราศจากตัณหาอันเป็นตัวบงการนาไปสู่การเกิดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย และ ๔) ระดับมรรควิธี ได้แก่ ๘ กระบวนการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาการทาอัตวินิบาตกรรมตามมรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/800 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-261พ.ม.นันทกรณ์.pdf | 5.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.