Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/791
Title: ความเชื่อเรื่องขันหมากเบ็งในวัฒนธรรมชาวอีสาน กรณีศึกษาอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคา
Other Titles: The belief of Khan Markbeng in Esarn’s culture A case study of Nongkhai District, Nongkhai Province
Authors: วรุณดี, คิด
Keywords: ความเชื่อเรื่องขันหมากเบ็ง
วัฒนธรรมชาวอีสาน
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยครั้งนี้คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของขันหมากเบ็งในวัฒนธรรมชาวอีสาน โดยใช้กรณีศึกษาชาวอีสานอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ๒) เพื่อศึกษาหลักความเชื่อ แนวคิดและทฤษฎีภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระบวนการที่เป็นขั้นตอนในการประดิษฐ์ขันหมากเบ็งเพื่อใช้เป็นเครื่องสักการะในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาและ ๓) เพื่อศึกษาคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในขันหมากเบ็ง และเครื่องประกอบขันหมากเบ็งแต่ละชนิด ขอบเขตของการวิจัย คือ เขตพื้นที่อาเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชากรในชุมชนตำบลโพธิ์ชัย ชุมชนตำบลวัดธาตุ ชุมชนตำบลหาดคำ ชุมชนตำบลพระธาตุบังพวน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยกาหนดเนื้อหาของการวิจัยเป็นการศึกษาเรื่องความเชื่อเรื่องขันหมากเบ็งในวัฒนธรรมชาวอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตที่ไม่มีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่าประวัติความเป็นมาของขันหมากเบ็งนั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด ไม่ปรากฏชื่อผู้ริเริ่มออกแบบการประดิษฐ์ขันหมากเบ็ง แต่ได้พบว่ามีการแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอีสานในการประดิษฐ์ขันหมากเบ็งด้วยความเชื่อและความเคารพศรัทธาของคนในอดีตที่เห็นความสาคัญของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา มีความเคารพศรัทธาในตัวบุคคลผู้มีพระคุณ คือ บิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์และสรุปได้ว่า ขันหมากเบ็งเป็นองค์ความรู้ที่มีการถ่ายทอดโดยผ่านการแสดงออกถึงความเชื่อและความเคารพศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และในตัวบุคคล ซึ่งอาศัยความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชนชาวอีสานในการสร้างสรรค์คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประดิษฐ์ขันหมากเบ็งเพื่อเป็นเครื่องสักการะสืบทอดต่อกันมาเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาด้านหลักความเชื่อ แนวคิดและทฤษฎีภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระบวนการประดิษฐ์เครื่องสักการะขันหมากเบ็งและคติธรรมในขันหมากเบ็งของชาวอีสานอาเภอเมืองหนองคาย สรุปได้ว่ามีความเชื่อ และแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องสักการะนี้เพียง ๒ รูปแบบ เท่านั้น คือ ขัน หมากเบ็งรูปแบบ ๕ ชั้น และ ขันหมากเบ็งรูปแบบ ๘ ชั้น วัตถุดิบที่ใช้ในการประดิษฐ์มีใบตองสด และดอกไม้สดเป็นหลัก ซึ่งแต่ละรูปแบบในการประดิษฐ์มีโครงสร้างและคติธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ ขันหมากเบ็งรูปแบบ ๕ ชั้น มีความหมายถึงขันธ์ทั้ง ๕ หรือที่เรียกทางพระพุทธศาสนาว่า เบญจ ขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด คือการรวมกันของขันธ์ทั้ง ๕ และเป็นการสารวมจิตเพื่อน้อมบูชาพระรัตนตรัย และขันหมากเบ็งรูปแบบ ๘ ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นมี ๔ กลีบ หมายถึงธาตุทั้ง ๔ และที่รวมกันทั้ง ๘ ชั้น หมายถึงร่างกายทั้ง ๓๒ ประการ ซึ่งหมายถึงการ นอบน้อมกายทั้งหมดเพื่อถวายสักการบูชา ขันหมากเบ็ง นอกจากเป็นเครื่องสักการะในพิธีกรรมต่างๆ แล้ว ขันหมากเบ็งยังเป็นเครื่องมือที่คอยสั่งสอน เตือนสติให้คนคิดดี ทาดี และมีความสามัคคี โดยผ่านการปลูกฝังจิตสานึกของการมีส่วนร่วมและมีความเชื่อความศรัทธาอันบริสุทธิ์ด้วยความหมายของการประดิษฐ์เครื่องสักการะขันหมากเบ็งนี้ และถือเป็นแบบอย่างการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/791
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-043 ดร.คิด วรุณดี.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.