Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/789
Title: | การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษชั้นต้น ตามหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Other Titles: | A Study of Achievement Factor in Learning and Teaching Basic English Bachelor of Arts Program in 2012 at Mahachulalongkornrajvidyalaya University |
Authors: | วรเมธี, พระมหาสุริยา โพธิธีรโรจน์, เมธาพันธ์ พิมพ์รัตน์, ลลิตา |
Keywords: | ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอน ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษชั้นต้นตามหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ.๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอน และปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษชั้นต้น เงื่อนไขพร้อมทั้งปัญหา และหาแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามหลักสูตร พุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่นิสิต นักศึกษาชั้นปีที่ ๑-๔ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ านวน ๑๐๐ ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูล จ านวน ๑๐ ตัวอย่าง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แบบสอบถามโดยแบบสอบถามและ สัมภาษณ์เชิงลึก ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสรุปข้อความจากการ สัมภาษณ์เชิงลึก คณาจารย์ นิสิตมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีต่อสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นพระภิกษุ คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๐๐ มีอายุระหว่าง ๓๑-๔๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๐๐ เป็นนิสิตที่ก าลังศึกษาอยู่คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๐๐ มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระหว่าง ๑-๕ ปี คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๐๐ ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๗ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตร อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๗ ด้านความรู้ของผู้สอนอยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๖ ด้าน พื้นฐานของผู้เรียนอยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๔ ด้านเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนการ สอนอยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๒ ข้อมูลถามเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ โดยภาพรวม อยู่ใน ระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๙ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการฟัง อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๙ ด้านความสามารถในการพูด อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๖ ด้านความสามารถในการอ่าน อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๙ ด้านความสามารถในการเขียน อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๔ ผลการทดสอบสมมติฐานระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ของคณาจารย์ และนิสิตเกี่ยวกับ เพศ เกี่ยวกับอายุ เกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ อิทธิพลต่อประสิทธิผลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้าน การฟัง การพูด การอ่าน และการอ่าน ภาษาอังกฤษ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบสภาพว่า ปัญหาหลักสูตรที่ไม่สอดคล้องกับวิชาชีพของผู้เรียน เนื้อหาหลักสูตรเน้นไปในทิศทางเผยแพร่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และบริการสังคม อาจารย์ไม่ อยู่ในระดับเชี่ยวชาญ ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษชั้นสูงได้ แต่ท่านสามารถสื่อสารเพื่อน าเนื้อหาเสนอ ต่อนิสิตได้ ผู้เรียนมีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษแตกต่างกันมาก มีอุดมการณ์ในการเรียนรู้แตกต่างกัน สนใจเข้าชั้นเรียนไม่เต็มเวลาก าหนด ฝึกการใช้ภาษาไม่เพียงพอต่อวิชาระดับชั้นการศึกษาของตน ปัญหาดังกล่าวท าให้ยากต่อการพัฒนาให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันในระดับชั้นปี อุปกรณ์การสอนขาด ประสิทธิภาพในการจัดให้บริการการศึกษา ความสามารถเกี่ยวกับทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษน้อย อันเกิดจากการฝึกใช้ภาษาอังกฤษทั้งสี่ทักษะไม่เพียงพอ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/789 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2558-119 พระมหาสุรียา วรเมธี1.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.