Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/788
Title: การส่งเสริมวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง
Other Titles: The Promotion is Centered on Improving the Quality of Life of Older People in Urban Communities
Authors: พระครูใบฎีกา, ธีรยุทธ
Keywords: การส่งเสริม
วัด
ศูนย์กลาง
คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ
ชุมชนเมือง
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุในชุมชนเมืองของวัดในจังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อศึกษาการส่งเสริมวัดให้เป็นศูนย์กลางการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จังหวัดนครปฐม ตามหลักพุทธธรรม และ ๓) เพื่อ พัฒนาการส่งเสริมวัดให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จังหวัด นครปฐม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ที่มีอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป ที่ปรากฏในฐานระบบข้อมูล ทะเบียนราษฎร จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจานวน ๓๙๓ คน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการ ดาเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ดาเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก จานวน ๑๕ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองของวัดในจังหวัดนครปฐม ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (๓.๖๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกายภาวนา (การ พัฒนากาย) สีลภาวนา (การพัฒนาความประพฤติ) จิตภาวนา (การพัฒนาจิตใจ) และปัญญาภาวนา (การพัฒนาปัญญา) อยู่ในระดับมากทุกด้าน ๒. การส่งเสริมวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ที่วัดได้ใช้ดาเนินการเพื่อปลูกจิตสานึกในใจคน สร้างจิตสานึกร่วมเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วย กระบวนการต่าง ๆ คือ กระบวนการการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการส่งเสริมกิจกรรม ตั้งแต่เริ่มต้น กระบวนการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากภาคส่วนต่าง ๆ กระบวนการส่งเสริมให้ วัด และชุมชนร่วมกันดูแลผู้สูงอายุด้วยตนเอง และกระบวนการส่งเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายภาค สังคม (Social Network) นับเป็นการทางานที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชุมชนเมือง เพื่อให้ เกิดความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อผู้สูงอายุด้วยกระบวนการสร้างจิตสานึกร่วมของผู้นาที่ ขับเคลื่อนการดาเนินงานด้านการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดการประโยชน์อย่างยังยืนด้วยการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และทางานขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กร วัด และเครือข่ายต่างๆ เป็น “กระบวนการสร้างจิตสานึกร่วม” อให้เกิดการขับเคลื่อนการดาเนินงานการเชื่อมโยงการดาเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของความยั่งยืนต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/788
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-152 พระครูใบฎีกาธีรยุทธ.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.