Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/787
Title: การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา
Other Titles: Strengthening the Network of Measurement and Management of Cultural Tourism Community in Lanna
Authors: พระครู, สิริสุตานุยุต
พระใบฎีกา, ธวัชชัย
ตาปูลิง, จันทรัสม์
เพ็ญเวียง, จักรพงค์
Keywords: การเสริมสร้าง
เครือข่าย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
วัด ชุมชน ล้านนา
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัด และชุมชนในล้านนา” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) ศึกษาแนวคิดเครือข่ายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของวัด และชุมชนในล้านนา ๒) ศึกษารูปแบบเครือข่ายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวของวัด และชุมชนในล้านนา ๓) ศึกษาวิเคราะห์แนวการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนใน ล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus group qualitative study) เก็บ ข้อมูลจากตัวแทนของวัด ผู้นาชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ใน ๓ จังหวัด คือ จังหวัดน่าน จังหวัด เชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ๖ พื้นที่ คือ ๑) วัดพระธาตุแช่แห้ง อาเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ๒) วัดมิ่งเมือง อาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๓) วัดพระแก้ว อาเภอเมือง จังหวัด เชียงราย ๔) วัดพระสิงห์ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๕) วัดสวนดอก อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๖) วัดพระสิงห์วรวิหาร อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ๑. แนวคิดเครือข่ายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา พบว่า วัดต่าง ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะทางประวัติศาสตร์ มีศาสนวัตถุที่โดดเด่น มีสถาปัตยกรรมที่แตกต่าง จากวัดโดยทั่วไป และมียุทธศาสตร์ที่ดี วัดมีเครือข่ายภายใน คือ ประชาชนในชุมชน หน่วยงานราชการที่ อยู่ใกล้วัด มีเครือข่ายภายนอก คือ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย องค์การปกครองส่วน ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด สานักงานพระพุทธศาสนา สานักงานการท่องเที่ยวประจาจังหวัด สานักงานวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันสอนภาษา องค์กรอิสระ และ ประชาชนทั่วไป ๒. รูปแบบเครือข่ายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา พบว่า วัดใช้ รูปแบบเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม เป็นเครือข่ายที่มีกิจกรรมต่างประเภทกัน เป็นเครือข่ายที่สมาชิกต่าง สาขา ต่างกิจกรรมกัน เข้ามาร่วมมือกันดาเนินกิจกรรม ร่วมมือประสานช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม อุปสรรคและปัญหาการทางานของเครือข่ายที่พบ คือ การสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ ต่อเนื่อง เช่น การส่งมัคคุเทศก์มาช่วยวัด แต่เมื่อโครงการสิ้นสุดลง บุคลากรที่มาช่วย จะกลับไปยัง หน่วยงาน จึงทาให้วัดขาดบุคลากรด้านนี้ ๓. วิเคราะห์แนวการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา พบว่า ควร เสริมสร้างด้านความรู้แก่บุคลากรภายในชุมชนเพื่อรองรับกิจกรรมการจัดการท่องเที่ยว การจัดสรรพื้นที่ ของวัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งด้วยกิจกรรมทางศาสนาที่ หลากหลาย วัดต้องนาเอกลักษณ์อันเป็นจุดเด่นเฉพาะตน เผยแพร่สู่สาธารณชน ให้เกิดการรับรู้และ อยากมาท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างต้องช่วยเหลือผลักดันให้กิจกรรมสาเร็จ และควร ใช้มาตรการ ๓ ข้อ คือ ๑) มาตรการทางกฎหมาย ต้องมีพระราชบัญญัติที่ยึดถือเป็นหลัก ๒) มาตรการ ชุมชน จะเป็นพลังที่เกิดจากมันสมองความคิดของชุมชนทาให้เกิดความรักความหวงแหนวัดและชุมชน ๓) มาตรการวิชาการ คือ เครือข่ายต่าง ๆ ต้องมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนา ทั้งด้านการให้ความรู้แก่ ประชาชน การสนับสนุนด้านการออกแบบเพื่อช่วยปรับภูมิทัศน์วัด ให้เครือข่ายเกิดการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมวางแผน ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมรับผิดชอบ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/787
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-042 พระครูสิริสุตานุยุต.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.