Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/786
Title: | การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดแพร่ |
Other Titles: | An Application of Buddhadhamma Principles in Administration of the Hill Tribe Development Center of Phrae Province |
Authors: | พระครูสังฆรักษ์, บุญเสริม ศรีคำภา, รวีโรจน์, เจริญกุศล, ธาดา ดำจุติ, กาญจนา หมายดี, ดำเนิน |
Keywords: | หลักพุทธธรรม ศูนย์พัฒนาชาวเขา จังหวัดแพร่ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการบริหารจัดการของ ศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการศูนย์ พัฒนาชาวเขาจังหวัดแพร่ และ ๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาชาวเขา จังหวัดแพร่ตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิง ลึก และการสนทนาเฉพาะกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง จานวน ๓๙๗ ได้จากการคานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยา มาเน่ โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสาเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑. รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดแพร่ มีการ บริหารร่วมกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในการสนับสนุนการตั้งถิ่นฐานถาวร การส่งเสริมอาชีพ และการจัดสวัสดิการสังคม ส่วนกระบวนการบริหารมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทา กิน การศึกษา ระบบสาธารณสุขและบริการที่หลากหลายจากหน่วยงานของรัฐ ๒. ความคิดเห็นของ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่บริการบนพื้นที่สูงต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหาร จัดการศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดแพร่ พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือด้านบุคลากร ด้านระบบงาน และด้านงบประมาณ ๓. รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดแพร่ตาม แนวพระพุทธศาสนา พบว่าด้านบุคลากร ด้านระบบงาน ด้านงบประมาณ ได้นาเอาหลักสังคหวัตถุ ๔ อิทธิ บาท ๔ พรหมวิหาร ๔ และหลักหิริโอตัปปะ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน สาหรับรูปแบบการ บริหารงานถ้าจะยกระดับเรื่องบริหารภายในควรใช้หลักธรรมเหล่านี้ในการบริหารจัดการมาสร้างความ เชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐ เชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพ ชีวิต นอกจากนั้นระบบการบริหารงานก็ต้องเอื้อ การบริหารภายในก็ต้องเอื้อ ภาครัฐภาคีเครือข่ายต้อง ร่วมกันสนับสนุน รวมทั้งภาคประชาชนมีการเรียนรู้ร่วมกันจะทาให้การบริหารงานเป็นไปความสาเร็จ มากกว่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันอาจจะมีการนาหลักธรรมมาใช้แต่ก็มีข้อจากัด มันไปได้ในระดับหนึ่งแต่มันมี เงื่อนไข |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/786 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-164 พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.