Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/785
Title: สภาพปัญหาและแนวทางการเข้าถึงการศึกษาระดับสูงของแม่ชีไทย
Other Titles: The Problems and Solutions on the Higher Education Access for Thai Nuns
Authors: รักษาโฉม, แม่ชีกฤษณา
Dr.Martin, Seeger
เศษวงศ์, สมคิด
Keywords: ปัญหาอุปสรรค
การเข้าถึงการศึกษาระดับสูง
แม่ชีไทย
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการศึกษาของแม่ชีไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักใหญ่แม่ชีไทยซึ่งมี ๓ วัด แบ่งเป็นเขตพระนคร ๒ วัด คือ วัดมหาธาตุฯ และวัดชนะสงคราม เขตภาษีเจริญ ๑ วัด คือ วัดปากน้ำ มีแม่ชีจำนวน ๒๖๐ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มเฉพาะวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนสอบถามมาหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้ ๑. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่แม่ชีไทยมีสถานภาพโสดก่อนบวช คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๔๕ อายุ ๖๐ ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๒๓ มีบุตรก่อนบวช คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๑๕ พำนักที่วัดปากน้ำ คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๔๖ จบธรรมศึกษาชั้นเอก คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๙๒ จบประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๖๙ พำนักที่วัดคิดเป็นร้อยละ ๗๘.๔๖ อาชีพก่อนบวชคือ เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๕๔ เหตุผลในการบวชคือมีศรัทธาตั้งใจบวชตลอดชีวิต คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๘๕ ๒. แม่ชีมีความคิดเห็นที่มีต่อปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาของแม่ชีโดยรวมทั้งหมดอยู่ที่ระดับความพึงพอใจ มาก ( =๓.๕๔ , S.D.=๐.๑๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านร่างกายและสุขภาพ มีความพึงพอใจระดับ มาก ( =๓.๔๘, S.D.= ๑.๐๒) และด้านเศรษฐกิจ มีความพึงพอใจระดับ ปานกลาง ( =๓.๒๖, S.D.=๑.๕๒) และด้านค่านิยม ความเชื่อส่วนบุคคล ครอบครัวและสังคม มีความพึงพอใจระดับมาก ( =๓.๖๑, S.D.=๐.๙๕) และด้านสุดท้ายคือ ด้านนโยบายและกฎหมายสนับสนุนจากวัด ชุมชนและสังคม มีความพึงพอใจระดับ มาก ( =๓.๗๐, S.D.=๐.๙๑) ๓. จากการประเมินระดับความความคิดเห็นที่มีต่อปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาของแม่ชี พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๑, S.D.= ๐.๙๒) เมื่อจำแนกในรายด้านควรให้การสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ( = ๔.๓๓, S.D.= ๑.๐๙) เช่น ทุน และที่พัก รองลงมาได้แก่ ด้านส่งเสริมและสนับสนุนแม่ชีในรายบุคคล ( = ๔.๒๗, S.D.= ๑.๑๑) ด้านระเบียบ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของแม่ชี ( = ๔.๒๗, S.D.=๑.๑๒) และด้านโอกาสทางการศึกษาจากองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( = ๔.๑๑, S.D.= ๐.๙๙) ๔. นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ร้อยละ ๒๘.๘๕ จำแนกประเด็นสะท้อนปัญหาและอุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาในเข้าถึงการศึกษาของแม่ชี ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านอายุ ความไม่เป็นเอกภาพของกลุ่มแม่ชี ด้านทุนทรัพย์ ความสนใจศึกษาเฉพาะทางธรรมที่เน้นการปฏิบัติ และแนวทางแก้ไข ได้แก่ การปรับปรุงด้านระเบียบ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การจัดตั้งหน่วยงานตรงที่รับผิดชอบการศึกษาของแม่ชี และการส่งเสริมและสนับสนุนแม่ชีในรายบุคคล ๕. จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าแม่ชีมีโอกาสและได้รับการสนับสนุนในการเข้าถึงอุดมศึกษาที่จัดโดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งและคณะสงฆ์มากขึ้นในระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา แม่ชีบางรูปมีการศึกษาสูงถึงระดับปริญญาเอก แม่ชีส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับธรรมศึกษาเอก สอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ แม่ชีที่อายุน้อยสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้รับการสนับสนุนในรูปแบบของทุนการศึกษาบ้าง แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีความไม่เสมอภาคระหว่างนักบวชต่างเพศ เนื่องจากพระสงฆ์ยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินและปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่า จะเป็นที่พักอาศัย การถวายทุนการศึกษา และการรับรองความสำเร็จทางการศึกษาภาษาบาลี ปัญหาหลักอย่างหนึ่งคือจำนวนแม่ชีที่เข้ามาบวชเรียนมีจำนวนน้อยแม่ชีส่วนมากบวชในช่วงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป สุขภาพร่างกายไม่เอื้อต่อการศึกษาส่วนมากบวชเพื่อปฏิบัติธรรมอย่างสงบ เหนือสิ่งอื่นใดแม่ชีต้องการกฎหมายรับรองสถานภาพการเป็นนักบวช
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/785
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556-039 ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.