Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/783
Title: การพัฒนาเครื่องบริหารปอดเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ
Other Titles: Development of Spirometer to Solve the Problem of Respiratory System
Authors: ยาอินตา, นิกร
Keywords: การพัฒนาเครื่องบริหารปอด
แก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเครื่องบริหารปอดเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาวะพร่องในระบบทางเดินหายใจ ๒) เพื่อสร้างเครื่องบริหารปอดเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ และ๓) เพื่อศึกษาผลการใช้เครื่องบริหารปอด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี ๒ กลุ่ม คือ อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป) และอาสาสมัครที่มีอายุต่ำกว่า ๖๐ ปี ในเขตเทศบาลตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน ๕๕ ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปัญหาสุขภาวะพร่องในระบบทางเดินหายใจของผู้สูงอายุ พบว่า ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์เป็นชุดอวัยวะที่มีหน้าที่ในการรับออกซิเจนและขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อวัยวะหลักของระบบทางเดินหายใจคือปอดซึ่งทำการแลกเปลี่ยนก๊าซ ในผู้สูงอายุมักพบปัญหาระบบทางเดินหายใจ คือ ความจุของปอดจะลดลง อันเป็นสาเหตุส่งเสริมให้เกิดภาวะปอดแฟบของคนสูงอายุได้ง่าย และในผู้สูงอายุยังพบโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ คือ โรคหอบหืด วัณโรค โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้ปอดขยายได้ คือ การบริหารปอดด้วยวิธีการดูดลม ๒) การสร้างเครื่องบริหารปอดเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะพร่องของระบบทางเดินหายใจ พบว่า การผลิตเครื่องบริหารปอดแบบ Incentive Spirometer NK1 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยขยายปอด ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น กระตุ้นกล้ามเนื้อกระบังลม ช่วยให้การหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องบริหารปอดนี้มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดและคนปกติทั่วไปซึ่งสามารถนำไปใช้กับการบริหารปอดช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดี ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจหลังผ่าตัดได้ หลักการออกแบบเครื่องบริหารปอด Incentive Spirometer NK1 ได้ดำเนินการออกแบบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และมีการทดสอบปริมาตรของเครื่องบริหารปอด Incentive Spirometer NK1 โดยได้ใช้หลักการ การแทนที่ลมด้วยน้ำ เพื่อวัดปริมาตรอากาศที่จะเข้าปอดได้ ขณะเดียวกัน ได้ผ่านการรับรองความเที่ยงและประสิทธิภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ ๓) ผลการใช้เครื่องบริหารปอด จากการวิเคราะห์ผลการตรวจร่างกายก่อนและหลังการทดสอบ พบว่า ประชากรทั้ง ๒ กลุ่ม มีปัญหาความดันโลหิตสูงก่อนการทดสอบ เกินจากมาตรฐาน โดยในผู้สูงอายุเกินร้อยละ ๙๕.๔๕ ในกลุ่มปกติเกิน ๘๙.๒๘ และเมื่อทำการเปรียบเทียบด้านความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุที่ก่อนและหลังมีค่าต่างกันเกินร้อยละ ๑๐ ทั้งนี้ พบว่า ความดันโลหิตมีแนวโน้มลดลงหลังการทดสอบร้อยละ ๗๗.๒๗ และในกลุ่มปกติลดลงร้อยละ ๕๐.๐๐ ดังนั้น จึงจัดได้ว่าการใช้เครื่องบริหารปอดทำให้ความดันโลหิตลดลงจากเดิม ซึ่งลดลงไม่มากนักและอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้ทดสอบ สำหรับอัตราการเต้นของหัวใจของผู้สูงอายุและกลุ่มปกติก่อนและหลังทดสอบการใช้เครื่อง Incentive Spirometer NK1 ส่วนใหญ่มีอัตราการเต้นของหัวใจในสภาพที่ปกติ ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้ทดสอบ ขณะเดียวกัน อัตราการหายใจและระดับออกซิเจนในเลือดมีความปกติในร้อยละ ๑๐๐ แสดงได้ว่า การใช้เครื่องบริหารปอดแบบ Incentive Spirometer NK1 ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ทดสอบแต่อย่างใด แต่ได้ส่งผลดีต่อผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงให้ลดมาอยู่ในระดับปกติได้ ผลการใช้เครื่องบริหารปอด พบว่า เครื่องบริหารปอด Incentive Spirometer NK1 สามารถช่วยเพิ่มปริมาตรอากาศให้แก่ปอดได้ในระดับดีกับผู้สูงอายุ และในระดับดีมากกับกลุ่มปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของอากาศที่เข้าสู่ปอดจะช่วยให้ปอดขยาย เนื่องจากมีอากาศเข้าไปมากกว่าการหายใจปกติของมนุษย์ ซึ่งจะหายใจนำอากาศเข้าสู่ปอดได้เพียง ๕๐๐ cc. เท่านั้น และหากสามารถนำอากาศเข้าปอดได้มากกว่า ๕๐๐ cc. จะเป็นการช่วยขยายปอด ทำให้ปอดแข็งแรง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/783
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-229 ดร.นิกร ยาอินตา.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.