Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/782
Title: มิติแห่งศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อองค์หลวงพ่อทวดวัดช้างให้
Other Titles: Dimension of the Buddhist Faith in the Luang Phor Thuat,Chang Hai Temple
Authors: พระครูสุวรรณสุตาลังการ, (เติม โทบุรี) จารุวณฺโณ
ธมฺมวํโส, พระพันธ์
Keywords: ศรัทธาของชาวพุทธ
องค์หลวงพ่อทวดวัดช้างให้
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะและจุดมุ่งหมายของการแสดง ความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อองค์องค์หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะแห่งการแสดงความศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อทวดของชาวพุทธ และเพื่อเสนอแนะการแสดงความศรัทธาที่ถูกต้องตามแนวทางของพุทธศาสนา โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ด้านลักษณะและจุดมุ่งหมายของการแสดงความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อองค์องค์ หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ พบว่ากลุ่มชาวพุทธผู้ศรัทธาได้แสดงออกถึงความเชื่อศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อทวดที่มีความแตกต่างกันออกไปในหลากหลายมิติ บางคนมีความเชื่อศรัทธาในการมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์และศรัทธาในฐานะเป็นพระนักพัฒนาและเผยแผ่ศาสนา บางคนมีความเชื่อศรัทธาในคุณอภินิหาร บางคนมีความเชื่อศรัทธาในมิติที่ท่านมีอิทธิพลต่อสังคมไทย แต่กลุ่มที่มีความเชื่อศรัทธาในคุณอภินิหารถือเป็นกลุ่มใหญ่สุด โดยการแสดงความศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อทวดของชาวพุทธมีจุดมุ่งหมายคือการระลึกถึงคุณความดีของท่านและปรารถนาที่จะให้ท่านได้แสดงอภินิหารช่วยเหลือมนุษย์ให้ประสบกับความสุขและปลอดภัยจากภยันตรายทั้งหลาย ด้านการวิเคราะห์ลักษณะแห่งการแสดงความศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อทวดของชาวพุทธ พบว่าการที่ชาวพุทธได้มีความเชื่อศรัทธาในองค์หลวงพ่อทวดเพราะกลุ่มผู้ศรัทธามีความเชื่อเป็นพื้นฐานว่าเรื่องของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์นั้นเป็นของมีอยู่จริงในโลก และเชื่อว่าหลวงพ่อทวดเป็นผู้มีบุญญาธิการและมีอิทธิฤทธิ์ที่จะสามารถช่วยเหลือสัตว์โลกโดยเฉพาะมนุษย์ได้ อีกทั้งมีความเชื่อว่าหลวงพ่อทวดคือพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีคอยช่วยเหลือสัตว์โลกให้อยู่เย็นเป็นสุข ด้านข้อเสนอแนะเพื่อการแสดงความศรัทธาที่ถูกต้องตามแนวทางของพุทธศาสนา พบว่าชาวพุทธผู้มีความศรัทธาในองค์หลวงพ่อทวดได้ให้ข้อเสนอแนะว่าชาวพุทธไม่ควรให้ความสำคัญกับหลวงพ่อทวดในมิติที่เกี่ยวกับอภินิหารเพียงอย่างเดียว เพราะเรื่องของอภินิหารเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและพิสูจน์ยาก แต่ชาวพุทธควรพิจารณาถึงมิติอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการนำมาเป็นตัวอย่างสำหรับการพัฒนาตนเองด้วยเช่นกัน เช่น พิจารณาถึงการเป็นคนที่มีคุณความดี มีความอดทน เข้มแข็งและมีปัญญาของหลวงพ่อทวดในขณะที่ผู้วิจัยก็มีข้อเสนอแนะว่าชาวพุทธควรยึดถือหลวงพ่อทวดเป็นที่พึ่งในฐานะที่ท่านเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัยแล้วใช้ปัญญามองให้เห็นถึงสาระสำคัญของพระรัตนตรัยที่จะเชื่อมโยงไปหาหลักการสำคัญของคำสอนทางพุทธศาสนาต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/782
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-079 พระครูสุวรรณสุตาลังการ.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.