Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/781
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | หนิ้วหยิ่น, ขจรเดช | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-30T14:01:48Z | - |
dc.date.available | 2022-03-30T14:01:48Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/781 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเก็บรวบรวมข้อมูลการประดับ กระจกแบบล้านนา งานช่างประดับกระจกทางล้านนานั้นมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะ ลักษณะของกระจกสีมักเป็นกระจกจืน หรือแก้วจืน มีลักษณะของสีออกตุ่น ๆ ขรึมขลัง ทำจากก้อน หินสี พื้นหลังเป็นตะกั่ว เป็นกรรมวิธีโบราณทางล้านนา รับผ่านจากจีนผ่านเส้นทางสายไหม จีนรับจาก อินเดีย และอิหร่าน-เปอร์เซีย งานประดับกระจกยังถือเป็นงานช่างศิลป์แขนงหนึ่งที่มีคุณค่า ความงดงาม และ ความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่างานช่างศิลป์แขนงอื่น ๆ จึงอยากให้ผู้คนควรกลับมาศึกษาเรียนรู้สืบสาน และอนุรักษ์ รักษาไว้ให้ยังคงอยู่คู่กับกลุ่มชนคนรุ่นหลังในอนาคตให้ได้อีกยาวนาน ดังนั้นจึงเกิดแรง บันดาลใจอยากศึกษาค้นคว้า หาความรู้ความเข้าใจที่มาความหมายความสำคัญหรือองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคนิคลวดลายในงานประดับกระจกในล้านนาเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้บันทึกรวบรวมถ่ายทอด องค์ความรู้ เทคนิควิธีการ ภูมิปัญญา ที่เกี่ยวข้องกับงานช่างประดับกระจกล้านนานี้ตั้งแต่โบราณกาล จนถึงปัจจุบัน ให้ได้รู้จักและหันกลับมาสนใจในงานช่างศิลป์ประเภทนี้ให้อยู่คู่กับคนรุ่นหลังต่อไป รายงานการวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเทคนิคกระบวนการงานช่างประดับ กระจกแบบล้านนา 2) เพื่อศึกษาองค์ความรู้คุณค่าการสืบทอดงานประดับกระจกแบบล้านนา 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้คุณค่า และความงามในงานประดับกระจกจากภูมิปัญญาล้านนา กับการ สร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรม ศึกษาตามวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือตอนบน ๓ จังหวัด จังหวัดละ 3 วัด ได้แก่ 1) จังหวัดเชียงราย คือ วัดพระสิงห์ วัดมิ่งเมือง วัดเจ็ดยอด 2) เชียงใหม่ คือ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร วัดพระสิงห์วรวิหาร วัดเชียงมั่น และ 3) จังหวัดลำปาง คือ วัดปงสนุกใต้ วัดพระแก้วดอนเต้า วัดศรีรองเมือง เป็นต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เพื่อประมวลองค์ความรู้ศึกษาแนวคิด ที่มา คุณค่า ของเทคนิคกระบวนการ และลวดลายงานประดับกระจก ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในคุณค่า กรรมวิธี และกระบวนการสร้างงานประดับกระจกในรูปแบบลักษณะล้านนา เพื่อนำมาถ่านทอดเผยแพร่ให้กับ สังคมให้ได้ตระหนักถึงคุณค่า ความงาม ความสำคัญ และเกิดรู้สึกหวงแหนรักษาไว้ และยังสามารถนำ เทคนิควิธีการประดับกระจกจากการศึกษาทดลองปฏิบัติ มาพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นผลงาน ศิลปะไทยร่วมสมัยเผยแพร่สู่สังคมได้ศึกษาเรียนรู้สืบเนื่องต่อไป ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เทคนิควิธีการและลวดลายการประดับกระจกแบบล้านนาโบราณ ดั้งเดิมนั้น ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจากประเทศพม่า เนื่องจากในยุคสมัยก่อนอาณาจักรล้านนานั้นได้ ข ถูกเป็นเมืองขึ้นแก่พม่าเป็นเวลาประมาณ 200 กว่าปี จึงทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะดังที่กล่าว ไว้ข้างต้น กระจกสีล้านนาเดิมจริง ๆ ที่ใช้ประดับมักเป็นกระจกจืน หรือ กระจกแก้วจืน สามารถสร้าง ขึ้นเองได้ กระจกแต่ละแผ่นสามารถตัดแต่งได้โดยการใช้กรรไกรตัดให้เกิดเป็นรูปร่างรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ ส่วนพื้นผิวและเทคนิคที่ใช้ในการประดับกระจกพบว่ามีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ๑.พื้นที่เป็นไม้ มักใช้การประดับกระจกโดยใช้ตะปูตอกลงไปให้ติดกับผนัง ๒.พื้นที่เป็นพื้นปูนจะประดับกระจกโดย การใช้ปูนปั้นทาลงไปก่อนแล้วจึงนำกระจกมาติดให้เกิดเป็นลวดลายลักษณะลวดลายที่ประดับลงไป นั้นมักประดับให้เป็นลวดลายพรรณพฤกษาต่าง ๆ เช่น ลายดอกไม้ ลายเครือเถา ลายก้านขด ลาย พรรณพฤกษา ฯลฯ มักพบเห็นการประดับตกแต่งกระจกสีได้ตาม เพดาน เสา คาน ผนัง หน้าบัน คัน ทวย ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ฯลฯ เป็นต้น ศึกษาโดยการลงพื้นที่ไปศึกษาสำรวจเก็บบันทึกข้อมูล ด้วยการวาดภาพสี วาดเส้นขาวดำ และภาพถ่ายของเทคนิคกระบวนการประดับกระจก และลาย ประดับกระจกในแต่ละลักษณะ และนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเรียนรู้ทำความเข้าใจในเทคนิค กระบวนการให้เข้าใจในคุณค่าลักษณะความงาม แล้วจึงนำเทคนิควิธีการงานช่างประดับกระจกแบบ ล้านนามาสร้างแรงบันดาลใจเป็นแนวทาง ประยุกต์ต่อยอดพัฒนาสร้างสรรค์ สืบสานถ่ายทอดแสดง ออกเป็นผลงานศิลปะไทยแบบร่วมสมัย ให้สังคมได้รับรู้ และเป็นแนวทางในการศึกษาเรียนรู้ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ประดับกระจก, | en_US |
dc.subject | ล้านนา | en_US |
dc.subject | พุทธศิลปกรรม, | en_US |
dc.subject | ช่างสิบหมู่ | en_US |
dc.title | ลายประดับกระจก : แนวคิด คุณค่า ในงานช่างศิลป์ เพื่อเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาของเทคนิคช่างล้านนา | en_US |
dc.title.alternative | Subproject 4. Decorative Glass Patterns : Developing Decorative Glass Art though Studying the Ideologies and Values of the Art of Lanna Buddhism. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-056นายขจรเดช หนิ้วหยิ่น.pdf | 11.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.