Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/779
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุริยะรังษี, สุนทรี | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-30T13:53:44Z | - |
dc.date.available | 2022-03-30T13:53:44Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/779 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเพิ่มรายได้เกษตรวิถีพุทธที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธ์บนพื้นที่สูงของเครือข่ายพระนักพัฒนา ๒. เพื่อติดตามผลการดำเนินงานการแก้ปัญหาในด้านเกษตรกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เวียงป่าเป้า แม่สรวย เมืองเชียงราย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา ๓. เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการเพิ่มรายได้เกษตรวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เวียงป่าเป้า แม่สรวย เมืองเชียงราย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา และ ๔. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของพื้นที่ต้นแบบ (Model) ในการเพิ่มรายได้เกษตรวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เวียงป่าเป้า แม่สรวย เมืองเชียงราย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่โดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มพระบัณฑิตอาสาและกลุ่มผู้นำชุมชน ในพื้นที่ ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผลสรุปได้ ดังนี้ ๑. ในกลุ่มเครือข่ายพระบัณฑิตอาสาในจังหวัดเชียงใหม่ ๗ อาศรม และกลุ่มผู้นำในชุมชน ๗ อาศรม จำนวนทั้งหมด ๑๔ รูป/คน นั้น มีแนวคิดในเรื่องของการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มรายได้ในการทำเกษตรวิถีพุทธและหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้มาก สรุปได้แก่ หลักธรรมเรื่องขันติ , สติ, สัจจะ, ความสามัคคี, อิทธิบาท ๔, พรหมวิหาร ๔ , สังคหวัตถุ ๔ , อริยสัจ ๔ และสัปปุริสธรรม ๗ ๒. จากการติดตามผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาในด้านเกษตรกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง คนบนพื้นสูงมีปัญหาในด้านขาดความรู้ในการทำเกษตรแบบวิถีพุทธ, ขาดความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์, ขาดพันธ์พืชในการเพาะปลูก, ขาดงบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินงานในด้านการเกษตร และที่สำคัญมีความเชื่อดั่งเดิมของตนในการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ยากต่อการเปลี่ยนแปลงต่อการมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะเห็นว่าได้ผลผลิตที่น้อยช้าและไม่งาม พระพัฒนาบนพื้นที่สูงได้การดำเนินการแก้ไขปัญหาโดย ๑.ให้ความรู้ในเรื่องของการทำเกษตรวิถีพุทธและการทำปุ๋ยอินทรีย์ ๒.หาแหล่งพันธ์พืชเศรษฐกิจในการเพาะปลูกให้ให้เหมาะสมกับดินที่ปลูก ๓.สรรหางบประมาณจากหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน ๔.ให้ความรู้ในการในเรื่องของประโยชน์และโทษของการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ ๕.ขอความร่วมมือคนในชุมชนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของทางป่าไม้ในการใช้ที่ดินทำงานเขตป่าใช้สอย และเขตอนุรักษ์และต้นน้ำ และ ๖.ร่วมกันกับชาวบ้านในการระดมทุนในการจัดหาถังเก็บน้ำ ๓. แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการเพิ่มรายได้เกษตรวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เวียงป่าเป้า แม่สรวย เมืองเชียงราย พบว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงได้ดำเนินการหลายด้าน คือ ส่งเสริมให้ความรู้ทางด้านการเกษตร ส่งเสริมด้านคุณธรรม ส่งเสริมในด้านอาชีพ ส่งเสริมในให้คนในชุมชนพัฒนาตนเอง และส่งเสริมด้านบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔. องค์ความรู้ที่ได้รับในพื้นที่ต้นแบบ (Model) ในเรื่องกระบวนการเพิ่มรายได้เกษตรวิถีพุทธ ผู้วิจัยได้รับองค์ความรู้ที่ได้จาการวิจัยครั้งนี้ คือ ทำให้ทราบว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงจะต้องพัฒนาศักยภาพในตนเองในการแสวงหาความรู้และกระบวนการทำงาน เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนบนพื้นสูงที่จะทำให้คนในชุมชนมีเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิตใน “ทางสายกลาง” บุคคลรู้จักบริโภคในวัตถุต่างๆ ด้วยความพอดี การรู้จักพอประมาณ ( มัตตัญญุตา ) ในการบริโภค ดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามอัตภาพของตนเอง ไม่ทะยานอยากในสิ่งที่เกินตัว รู้จักควบคุมจิตใจและการใช้สอยต่างๆ เช่น การใช้สอยทรัพย์สินที่หามาได้ให้คุ้มค่า จึงจะทำให้ความโลภลดลงได้ และเมื่อเหลือใช้แล้วก็สอนให้รู้จักให้และแบ่งบันกัน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ที่จะนำไปสู่การใช้ชีวิตที่เป็นสุขและยั่งยืนอย่างแท้จริง | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แนวปฏิบัติและกระบวนการเพิ่มรายได้ | en_US |
dc.subject | เกษตรวิถีพุทธ | en_US |
dc.subject | เครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง | en_US |
dc.subject | พื้นที่ต้นแบบ เวียงป่าเป้า | en_US |
dc.subject | แม่สรวย เมืองเชียงราย แม่ฟ้าหลวง | en_US |
dc.title | แนวปฏิบัติและกระบวนการเพิ่มรายได้เกษตรวิถีพุทธของเครือข่ายพระนักพัฒนา บนพื้นที่สูง: พื้นที่ต้นแบบ เวียงป่าเป้า แม่สรวย เมืองเชียงราย แม่ฟ้าหลวง | en_US |
dc.title.alternative | The Practical Guideline and the Development Process of Buddhist Agricultural Way of the Highland Buddhist Monk Developer Network: Target Area in the District of Wiang Pa Pao, Mae Suai Muang Chiang Rai, Mae Fah Luang | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-218 ดร.สุนทรี สุริยะรังษี.pdf | 6.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.