Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/777
Title: | ป่าชุมชน : การศึกษาหลักการและแนวทางปฏิบัติทางนิเวศวิทยาในการจัดการป่าชุมชนของ พระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | Community forest : A study of ecological principles and practices in community forest management of monks in the northeast |
Authors: | ประเสริฐ, สนั่น, สาผาง, สังเวียน หล้าโพนทัน, สงวน ใสชาติ, ทิพย์ภวิษณ์ เทศกาจร, กิตติพัทธ์ |
Keywords: | ป่าชุมชน การศึกษาหลักการ แนวทางปฏิบัติ นิเวศวิทยา ป่าชุมชน พระสงฆ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัย เรื่อง “ป่าชุมชน : การศึกษาหลักการและแนวทางปฏิบัติทางนิเวศวิทยาใน การจัดการป่าชุมชนของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและ แนวปฏิบัติทางนิเวศวิทยาในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการจัดการป่าชุมชน ของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการป่าชุมชนตามหลัก นิเวศวิทยาของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย ได้แก่ ป่า ชุมชนโคกชี จังหวัดกาฬสินธุ์ ป่าชุมชนโคกใหญ่คาปลากั้ง ป่าชุมชนโคกเขวา จังหวัดร้อยเอ็ด และป่า ชุมชนดงใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นาชุมชน บุคลากรองค์การ ปกครองท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์ป่าชุมชน และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ รวมทั้งสิ้น ๒๕ รูป/คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย นาเสนอข้อมูลที่ได้โดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ป่าตามคาสอนพระพุทธศาสนาเป็นสถานที่ร่มรื่น มีความเงียบสงัด เหมาะสาหรับปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทหลายสิกขาบทเพื่อห้ามภิกษุทาลายระบบ นิเวศ และพระองค์ทรงอาศัยธรรมชาติเป็นสื่อการสอนธรรมะ ป่าชุมชน คือป่าสาธารณะที่ชุมชนใช้ ประโยชน์ร่วมกัน มีกฎหมายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการ มีการทา กิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ตามบริบทหรือความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น การปลูกป่า ป้องกันการ ลักลอบตัดไม้ทาลายป่า เป็นต้น พระสงฆ์ส่วนหนึ่งมีบทบาทสาคัญในการเป็นแกนนาและมีส่วนร่วมใน การจัดการอนุรักษ์ป่าชุมชน ซึ่งได้รับการยอมรับและเคารพนับถือจากชาวบ้าน เพราะท่านเป็นผู้ เสียสละประโยชน์ตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม พื้นที่วิจัยในครั้งนี้มีกิจกรรมในการจัดการป่าชุมชนที่ สาคัญ ได้แก่ การปลูกป่า บวชป่า สารวจพันธุ์ไม้และพืชสมุนไพร เข้าค่ายศึกษาป่า และจัดงาน ประจาปี ส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า ได้แก่ พระสงฆ์ ชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน กรมป่าไม้ มหาวิทยาลัย มูลนิธิ และบริษัทเอกชน การส่งเสริมของรัฐ เช่น การกาหนดนโยบายที่เอื้อ ต่อวิถีประชา สนับสนุนงบประมาณ แต่ยังมีจานวนจากัด บางแห่งรัฐก็มีปัญหากับชาวบ้านเรื่องการ บุกรุกที่ดิน การจัดการป่าเป็นลักษณะของเครือข่าย รูปแบบของการจัดการป่า ได้แก่ การฟื้นฟูป่า เสื่อมโทรม การอนุรักษ์ป่า การต่อต้านความอยุติธรรม การให้ความรู้ และการส่งเสริมและพัฒนา |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/777 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-137นายสนั่น ประเสริฐ.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.