Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/776
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สิงอุดม, ธงชัย | - |
dc.contributor.author | แสนคำ, ธีระวัฒน์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-30T13:44:13Z | - |
dc.date.available | 2022-03-30T13:44:13Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/776 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำเลย จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และความสำคัญของแหล่งโบราณคดีทาง พระพุทธศาสนาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเลย จังหวัดเลย (๒) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเลย จังหวัดเลย โดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน และ (๓) เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนา ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเลย จังหวัดเลย ผลการศึกษาพบว่า แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำเลยที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็นการวิจัยมีจำนวน ๒๐ แห่ง ซึ่งสามารถแยกเป็นกลุ่มตามลักษณะของแหล่งโบราณคดี ออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในวัฒนธรรมทวารวดีจำนวน ๑ แห่ง แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในวัฒนธรรมล้านช้างจำนวน ๙ แห่ง แหล่งโบราณคดีทาง พระพุทธศาสนาในวัฒนธรรมร่วมรัตนโกสินทร์จำนวน ๑๐ แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนแต่มีพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปกรรมควรแก่ การอนุรักษ์และพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป จากการวิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาใน บริเวณลุ่มแม่น้ำเลยพบว่า สภาพและสาเหตุปัญหาการรุกล้ำ ทำลายและละเลยการอนุรักษ์และ พัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเลยที่สำคัญ ได้แก่ การบุกรุกทำลาย ด้วยความไม่เห็นคุณค่า ขาดการเอาใจใส่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี และขาดความร่วมมือการอนุรักษ์ดูแลแหล่ง โบราณคดีทางพระพุทธศาสนาของชุมชน แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในบริเวณลุ่มแม่น้ำ เลยสามารถทำได้โดยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนซึ่งแยกออกเป็น ๓ แนวทาง คือ แนวทางการ อนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีในระดับนโยบาย แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี ระดับวัดและชุมชน และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีระดับจังหวัดและองค์กร ทางด้านวัฒนธรรม จากการสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาใน บริเวณลุ่มแม่น้ำเลย ทำให้เกิดกระบวนการทำงานเพื่อสร้างเครือข่ายเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการ ประสานงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นตอนการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นตอนการคัดเลือกคณะทำงาน เครือข่ายชุมชน ขั้นตอนกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานเครือข่ายชุมชน ซึ่งมีการนำหลักพุทธ ธรรม “อปริหานิยธรรม” มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเชิง บูรณาการ เพื่อที่จะนำพาให้แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเลยได้รับการ อนุรักษ์และพัฒนาอย่างจริงจังและยั่งยืนต่อไป | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์ | en_US |
dc.subject | พัฒนา | en_US |
dc.subject | แหล่งโบราณคดี | en_US |
dc.subject | พระพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | ลุ่มแม่น้ำเลย | en_US |
dc.title | การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำเลย จังหวัดเลย | en_US |
dc.title.alternative | Conservation and Development of Buddhist Archaeology Sites in Loei River Basin, Loei Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-124 ธงชัย สิงอุดม.pdf | 8.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.