Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/772
Title: การพัฒนาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในการท่องเที่ยวแก่ควาญช้าง เด็กและเยาวชน ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
Other Titles: The Development of English Learning Package for Tourism through Tourism Activities to Mahouts, Children, and Young Students in Meayaow Sub-district, Chiang Rai Province
Authors: สุกันโท, กำพล
Keywords: การพัฒนา
ภาษาอังกฤษ
การท่องเที่ยว
ชุดการเรียนรู้
ควาญช้าง
เชียงราย
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในการท่องเที่ยวแก่ ควาญช้าง เด็กและเยาวชน ตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญในตาบลแม่ยาวที่มีปัจจัยต่อการจัดทาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อ การท่องเที่ยว เพื่อจัดทาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารการท่องเที่ยวแก่ควาญช้างบ้านรวม มิตร เด็กและเยาวชนในตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย เพื่อใช้สื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และเพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสารสาหรับการท่องเที่ยวแก่ควาญช้าง เด็กและเยาวชนใน ตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายให้เป็นมัคคุเทศก์น้อยที่มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ควาญช้างบ้านรวมมิตรจานวน 10 คน เด็กและเยาวชนใน หมู่บ้านที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่บ้านรวมมิตร หมู่บ้านสอง แควพัฒนา หมู่บ้านทรายมูล หมู่บ้านละ 20 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 70 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า มีแหล่งท่องเทียวที่สาคัญในตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จานวน 10 แห่ง ได้แก่ 1) แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานถ้าพระ 2. แหล่งท่องเที่ยว ทัวร์ช้างบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร 3. แหล่งท่องเที่ยวหาดผาขวาง 4. แหล่งท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์บ้านสองแควพัฒนา 5. แหล่งท่องเที่ยวน้าตกสองแควพัฒนา 6. แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านอา ผ่าพัฒนา (ชาวเขาเผ่าอาข่า) 7. แหล่งท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าบ้านจะแล 8. แหล่งท่องเที่ยวน้าตก ห้วยแม่ซ้าย 9. แหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวดอยบ่อ ทะเลหมอกยะฟู 10. แหล่งท่องเที่ยวสถานีพัฒนาการ เกษตรที่สูงตามพระราชดาริดอยบ่อ ด้านนักท่องเที่ยวที่เข้าไปท่องเที่ยว พบว่า แต่ละสถานที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเฉลี่ย ประมาณ 5 ถึง 10 คน เข้ามาท่องเที่ยวในตาบลแม่ยาวในแต่ละวัน ใน 10 สถานที่ท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ย โดยรวมของนักท่องเที่ยวประมาณ 50 ถึง 100 คนต่อวัน ถือว่ามีจานวนมากพอสมควร ผู้วิจัยได้เก็บ ข้อมูลระหว่างปีพุทธศักราช 2560 ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนักจึงมีนักท่องเที่ยวไม่ ค่อยมากเหมือนกับช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี ด้านการจัดการความรู้ภาคภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า แหล่งท่องเทียวที่สาคัญใน ตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จานวน 10 แห่ง ส่วนมากไม่มีการจัดการความรู้ ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหรือไม่มีการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสาหรับ เด็กและ เยาวชนในพื้นที่ แต่มีบางพื้นที่เท่านั้นที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร เช่น หมู่บ้านอาผ่าพัฒนาเป็น หมู่บ้านโฮมสเตย์ มีคนรุ่นใหม่เป็นไกด์ชุมชนให้บริการ 5 คนคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบวัดความสามารถการฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียนภาษาอังกฤษ ของกลุ่มเป้าหมายก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ 2.43 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.785 และทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ 8.07 และมีค่า เบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.385 แสดงว่ามีพัฒนาการความสามารถใน 4 ทักษะของภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ของค่าเฉลี่ยคะแนนที่ 5.64 แปลว่า มีความสามารถในระดับ ดี และผลทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยนของคะแนนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/772
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-062 กาพล สุกันโท.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.