Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/768
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐิตเมธโส, คมสัน-
dc.contributor.authorใยอินทร์, เอนก-
dc.contributor.authorหอมจันทร์, ปิยวรรณ-
dc.date.accessioned2022-03-30T09:34:06Z-
dc.date.available2022-03-30T09:34:06Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/768-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อความมั่นคงของ ชุมชน มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและแนวคิดในการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ (๒) เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัด สุรินทร์ (๓) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคของการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวม ข้อมูลเชิงเอกสาร (Documentary Research) ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเก็บกับประวัติความ เป็นมาและสภาพทั่วไปของกองทุนสวัสดิการชุมชนจากเอกสารทางวิชาการ หนังสือ บทความ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และเอกสารความสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นแนวคิดการ จัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน และการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) โดยการประชุมกลุ่มย่อย ร่วมกับคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำผลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งหมด ๒๐ คน แบ่งออกเป็น คณะกรรมการกองทุนฯ ๘ คน และสมาชิกกองทุนฯ ๑๒ คน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลผลไผ่ มีทั้งหมด ๑๔ หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและ ค้าขาย จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักออมเงินเพื่อ แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ๒) เพื่อจัดสวัสดิการแก่สมาชิกตลอดชีวิต ในเรื่องการเกิด การแก่ การ เจ็บ การตาย ๓) เพื่อให้เกิดคุณธรรม ความสามัคคี มีน้ำใจ ร่วมกันแก้ไขปัญหา สร้างสัมพันธภาพ ที่ดีแก่สมาชิก ๔) เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง มีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อนหรือจำเป็น ๕) กองทุนนี้ไม่ดำเนินการเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดทางทรัพย์สิน แต่ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกัน และกันระหว่างสมาชิก กระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ มี ๕ ด้าน ได้แก่ ด้าน การวางแผน ด้านการจัดการองค์การ ด้านการสั่งการ ด้านการควบคุม และด้านการบริหารงานบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ มี ๗ ประการ ได้แก่ ๑) การบริหารจัดการ ๒) การประชาสัมพันธ์ ๓) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง หมู่บ้าน ๔) การมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชน ๕) การเปิดรับเงินสัจจะออมทรัพย์ทุก ๆ เดือน ๖) การมีจิตอาสาของคณะกรรมการ และ ๗) การทำงานร่วมกันขององค์กรส่วนท้องถิ่นและส่วนท้องที่ อุปสรรคของการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ มี ๕ ประการ ได้แก่ ๑) การลอกเรียนแบบกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ๒) การมีสมาชิกจำนวนมาก ๓) การให้สวัสดิการสูงเกินไป ๔) การจัดสวัสดิการแก่สมาชิกได้ไม่เต็มที่ และ ๕) การไม่เข้าใจอุดมการณ ์ นอกจากนั้นยังมีผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ ๑) ผลกระทบจากภายใน ได้แก่ การทำงานของคณะกรรมการ ค่าตอบแทนของ คณะกรรมการ อาคารสถานที่ วัสดุ และอุปกรณ์ แผนพัฒนากองทุนระยะยาว และการถ่ายทอดความรู้ สู่รุ่นต่อไป ๒) ผลกระทบจากภายนอก ได้แก่ เทคโนโลยี พฤติกรรมการออม และการเข้าสู่สถาบัน การเงินได้ง่ายen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการen_US
dc.subjectกองทุนสวัสดิการen_US
dc.subjectความมั่นคงen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.titleกระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อความมั่นคงของชุมชนen_US
dc.title.alternativeProcess Management of Community Welfare Fund Ministry for Security of Communityen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-064 Komsan_Thi.pdf18.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.