Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/767
Title: การวิเคราะห์ผลกระทบสถานะบทบาทและองค์ความรู้ของประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่ในจังหวัดขอนแก่น
Other Titles: An Analysis of Impact, Status, Role and Cognitive Traditions of Heet 12 kong 14 in Khon Kaen Province
Authors: เพ็งวิภาศ, พลเผ่า
Keywords: การวิเคราะห์
ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่
จังหวัดขอนแก่น
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและการปฏิบัติตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ใน จังหวัดขอนแก่น ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการเปลี่ยนแปลงประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่ในจังหวัด ขอนแก่น ๓) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบสถานะบทบาทองค์ความรู้ของประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่ใน จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๗ รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ตามหลักอุปนัยวิธี (Inductive method) โดยยึดวัตถุประสงค์เป็นแนว ผลการวิจัยพบว่า ๑. ฮีตสิบสองคองสิบสี่เป็นแบบแผนและแนวทางดำเนินชีวิต(Way of life) ที่มุ่งไปในด้าน ศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ มีอิทธิพลต่อวิถีคนอีสาน และประเพณี ฮีต ๑๒ ชาวอีสานโบราณถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันทำอย่างจริงจังส่วนคอง ๑๔ นั้นเป็นแนวปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อความดีงามของตนและส่วนรวม ๒. สาเหตุที่มีผลกระทบต่อประเพณีฮีตสิบสองครองสิบสี่ในจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย สาเหตุสำคัญดังนี้ ๑) การเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นพหุ วัฒนธรรม ๒) การขยายตัวของบ้านเมืองและชุมชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชุมชนคนต้องการ ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินทำให้มีการบุกรุกป่าชุมชนซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานศาลปู่ตา ส่งผลทำให้ขาด ความเคารพยำเกรงต่อสถานศักดิ์ที่นับถือกันมา ๓) การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การเข้าถึงความรู้ทาง วัฒนธรรมผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นการฟังเทศน์มหาชาติผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้คนยุค ใหม่ไม่เห็นความสำคัญในสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีดั่งเดิมไว้ ๔) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้วิถี วัฒนธรรมชุมชนแบบดั่งเดิมก็หายไป และมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาทำงานที่ไม่สอดคล้องกับวิถี วัฒนธรรมแบบดั่งเดิม ๓. สาเหตุทั้ง ๔ ประการดังที่กล่าวมาเป็นผลกระทบต่อสถานะบทบาท และองค์ความรู้ของ ประเพณีในฮีตสองครองสิบสี่ จังหวัดขอนแก่น ใน ๓ ด้านดังนี้ ๑) ด้านการอนุรักษ์ประเพณีฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ของชุมชน ๒) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีฮีตสิบสองครองสิบสี่ ๓) ด้านแนวทางการส่งเสริมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีฮีตสิบสองครองสิบสี่
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/767
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-004 พลเผ่า เพ็งวิภาศ.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.