Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/762
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐิตเมธโส, พระคมสัน-
dc.contributor.authorใยอินทร์, เอนก-
dc.contributor.authorหอมจันทร์, ปิยวรรณ-
dc.date.accessioned2022-03-30T09:23:13Z-
dc.date.available2022-03-30T09:23:13Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/762-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อความมั่นคงของชุมชน มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและแนวคิดในการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ (๒) เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ (๓) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคของการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร (Documentary Research) ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเก็บกับประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไปของกองทุนสวัสดิการชุมชนจากเอกสารทางวิชาการ หนังสือ บทความ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และเอกสารความสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นแนวคิดการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน และการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) โดยการประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำผลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งหมด ๒๐ คน แบ่งออกเป็น คณะกรรมการกองทุนฯ ๘ คน และสมาชิกกองทุนฯ ๑๒ คน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลผลไผ่ มีทั้งหมด ๑๔ หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักออมเงินเพื่อแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ๒) เพื่อจัดสวัสดิการแก่สมาชิกตลอดชีวิต ในเรื่องการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ๓) เพื่อให้เกิดคุณธรรม ความสามัคคี มีน้ำใจ ร่วมกันแก้ไขปัญหา สร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่สมาชิก ๔) เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง มีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อนหรือจำเป็น ๕) กองทุนนี้ไม่ดำเนินการเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดทางทรัพย์สิน แต่ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก กระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ มี ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์การ ด้านการสั่งการ ด้านการควบคุม และด้านการบริหารงานบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ มี ๗ ประการ ได้แก่ ๑) การบริหารจัดการ ๒) การประชาสัมพันธ์ ๓) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหมู่บ้าน ๔) การมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชน ๕) การเปิดรับเงินสัจจะออมทรัพย์ทุก ๆ เดือน ๖) การมีจิตอาสาของคณะกรรมการ และ ๗) การทำงานร่วมกันขององค์กรส่วนท้องถิ่นและส่วนท้องที่ อุปสรรคของการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ มี ๕ ประการ ได้แก่ ๑) การลอกเรียนแบบกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ๒) การมีสมาชิกจำนวนมาก ๓) การให้สวัสดิการสูงเกินไป ๔) การจัดสวัสดิการแก่สมาชิกได้ไม่เต็มที่ และ ๕) การไม่เข้าใจอุดมการณ์ นอกจากนั้นยังมีผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ ๑) ผลกระทบจากภายใน ได้แก่ การทำงานของคณะกรรมการ ค่าตอบแทนของคณะกรรมการ อาคารสถานที่ วัสดุ และอุปกรณ์ แผนพัฒนากองทุนระยะยาว และการถ่ายทอดความรู้สู่รุ่นต่อไป ๒) ผลกระทบจากภายนอก ได้แก่ เทคโนโลยี พฤติกรรมการออม และการเข้าสู่สถาบันการเงินได้ง่ายen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการการจัดการen_US
dc.subjectกองทุนสวัสดิการชุมชนen_US
dc.subjectความมั่นคงของชุมชนen_US
dc.titleกระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อความมั่นคงของชุมชนen_US
dc.title.alternativeProcess Management of Community Welfare Fund Ministry for Security of Communityen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-064 พระคมสัน ฐิตเมธโส, ผศ.pdf18.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.