Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/759
Title: การส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำยม ๑๖ สาขาจังหวัดแพร่
Other Titles: The Enhancement of Local Community’s Networks in Yom River Basin’s Management in Phrae Province
Authors: ขอนวงค์, สมจิต
หมายดี, ดำเนิน
กาวีวล, นิติพงษ์
สุวรรณสวัสดิ์, ศาณิวัชร์
Keywords: การส่งเสริมศักยภาพ
เครือข่ายชุมชนท้องถิ่น
การจัดการลุ่มน้ำยม ๑๖ สาขา
จังหวัดแพร่
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำยม ๑๖ สาขาในจังหวัดแพร่และศึกษากระบวนการส่งเสริมการจัดการลุ่มน้ำยม๑๖สาขาในจังหวัดแพร่ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodsresearch)ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำยม ๑๖ สาขา จังหวัดแพร่จำนวน๔๑๘ คนกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวน๒๐๔คนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)และข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน, กลุ่มผู้แก่ฝ่ายหรือผู้จัดการน้ำ จำนวน ๓๒ คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) ผลการวิจัยพบว่า ๑. การดำเนินการของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำยม ๑๖ สาขาในจังหวัดแพร่โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุดด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการติดตามประเมินผล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ๒. ผลการสัมภาษณ์กระบวนการส่งเสริมการจัดการลุ่มน้ำยม๑๖สาขาในจังหวัดแพร่โดยได้แบ่งระดับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมศักยภาพเครือข่าย ดังนี้ กระบวนการส่งเสริมการจัดการฝายขนาดใหญ่ หน่วยงานภาครัฐมีกระบวนการวางแผนก่อสร้างฝายชะลอน้ำและการจัดสรรน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำอย่างเป็นระบบ โดยมีการให้ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำและจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้น้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน ในกรณีช่วงฤดูน้ำน้อยหรือการคาดการณ์ปริมาณน้ำที่คาดว่าไม่เพียงพอต่อการเกษตร เช่นการทำการเกษตรนอกฤดูกาล (การปลูกข้าวนาปรัง ข้าวโพด และถั่วเหลือง)และมีการดูแลรักษาลำนำและฝายชะลอน้ำ กระบวนการส่งเสริมการจัดการฝายขนาดเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการวางแผนในการเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ และมีการส่งเสริมการจัดทำฝายโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำฝาย เมื่อจัดทำโครงการสำเร็จขาดการส่งเสริมการให้ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำในแต่ละฝาย การพัฒนา การติดตามผล และปัญหาของฝายชะลอน้ำ เกิดการกัดเซาะตลิ่งสองฝั่งน้ำ ทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่งบางฝายมีการชำรุดแต่หน่วยงานท้องถิ่นบางพื้นที่ไม่ได้ใส่ใจในการบำรุงรักษาและให้ความสำคัญของปัญหาเท่าที่ควรหน่วยงานที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือพื้นที่รับผิดชอบของทหาร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เข้ามาสร้างฝายชะลอน้ำให้แก่ชุมชน แต่ให้ชุมชนบริหารจัดการเอง สำหรับชุมชนที่มีความเข้มแข็งจะมีคณะกรรมการดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชุมชนที่ไม่มีคณะกรรมการดูแลพื้นที่ฝายชะลอน้ำมักเกิดความเสียหาย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/759
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-151 ผศ.ดร. สมจิต ขอนวงค์.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.