Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/757
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครูประโชติพัชรพงศ์-
dc.date.accessioned2022-03-30T09:16:13Z-
dc.date.available2022-03-30T09:16:13Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/757-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาแนวคิดการจัดวัดและชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พระสงฆ์ นักวิชาการ และประชาชนจานวน 500 คน และระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์ออกเป็น 4 กลุ่ม รวม 48 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการศึกษาพบว่า แนวคิดการจัดวัดและชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการเมืองอย่างมากทาให้มีผู้มองศาสนาในแง่ต่างๆ ทั้งในแง่ดีหรือแง่บวกและในแง่ร้ายหรือแง่ลบก็ตาม แต่พุทธศาสนาก็ยังนับว่ามีอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่มากในจิตใจของคนไทย และแสดงออกมาในรูปของโบราณสถานโบราณวัตถุ ประเพณี นิสัย ศิลปวัฒนธรรม หรือความเมตตาปรานี และความโอบอ้อมอารี สิ่งเหล่านี้อาจเรียกว่าเป็นลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งเป็นลักษณะอันเนื่องมาจากพุทธศาสนาจึงถือว่าสังคมไทยก็คือสังคมพุทธนั่นเอง ผู้ที่มีส่วนสาคัญในการผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมพุทธตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็คือ พระสงฆ์ สถาบันสงฆ์จึงเป็นสถาบันจารีตที่มีความสาคัญยิ่ง พระสงฆ์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีบทบาทสาคัญในวิถีชีวิตของชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ทั้งทางด้านศีลธรรมจรรยาและกิจกรรมทางโลก พระสงฆ์เป็นหนึ่งในรัตนะ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นเสมือนตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสถาบันพระพุทธศาสนาที่ขาดเสียไม่ได้ ในชีวิตประจาวันของพุทธศาสนิกชน นอกจากจะเป็นที่พึ่งพิงทางใจ ชี้นาทางศีลธรรมจรรยาโดยชี้ ให้ทานาให้ดู และเป็นสถาบันที่เอื้ออานวยบริการทางศาสนกิจ ศาสนพิธีแล้ว พระภิกษุสงฆ์ยังทาหน้าที่ส่งเสริมรักษาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและให้บริการด้านอื่นๆ ที่กลไกของรัฐบาลเข้าไปให้บริการไม่ทั่วถึง ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมกลไกของรัฐให้บรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้นและทั้งยังมีส่วนช่วยสังคมในด้านต่างๆ อีกด้วย 2. สภาพการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์สืบเนื่องมาจากผลกระทบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีทั้งความหลากหลายและรวดเร็วในการรับข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปัญหา 6 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม 2) ด้านพุทธศาสนพิธี/พิธีกรรม 3) สื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 4) แหล่งการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม 5) กิจกรรมเชิงวิชาการในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และ 6) เครือข่ายภาคีทางศิลปวัฒนธรรม อันส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมามากมาย 3. รูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อดาเนินงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้บรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม 2) ด้านพุทธศาสนพิธี/พิธีกรรม 3) ด้านสื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 4) ด้านแหล่งการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม 5) ด้านกิจกรรมเชิงวิชาการในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และ 6) ด้านเครือข่ายภาคีทางศิลปวัฒนธรรม หลักพระพุทธศาสนา เป็นรากฐานสาคัญของศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนามาช้านาน และหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา ได้หล่อหลอมซึมซับลงในวิถีไทย กลายเป็นรากฐานวิถีชีวิตของคนไทยในทุกด้าน ทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน เพื่อให้คนประพฤติดี ประพฤติชอบ สร้างความเจริญดีงาม และความมั่นคงทางจิตใจ เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและสังคม ซึ่งหากคนในสังคมเกิดความเสื่อมใสศรัทธาตามหลักพุทธธรรมพระพุทธศาสนา ก็จะทาให้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectเพชรบูรณ์en_US
dc.subjectวัดและชุมชนen_US
dc.subjectองค์กรแห่งการเรียนรู้en_US
dc.titleการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์en_US
dc.title.alternativeThe Learning Organization Development of Temple and Community in Phetchabun Provinceen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-187พระครูประโชติพัชรพงศ์.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.