Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/756
Title: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสาระการเรียนรู้หลักสูตรธรรมศึกษา และหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
Other Titles: The Analytical Study of Relation of the Curriculum of Dhamma Studies and the School Curriculum in the Subject of Buddhist Studies
Authors: ภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ
Keywords: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสาระ
หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
การเรียนรู้หลักสูตรธรรมศึกษา
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสาระการเรียนรู้หลักสูตรธรรมศึกษา และหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน” มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาเนื้อหา สาระหลักสูตรธรรมศึกษา ๒) เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน ๓) วิเคราะห์เปรียบเทียบความสอดคล้องและความแตกต่างของเนื้อหาสาระหลักสูตรธรรมศึกษากับ หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน ๔) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงเนื้อหาสาระของ หลักสูตรธรรมศึกษากับหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น จานวน ๕ คน ๒) พระสอนศีลธรรม สังกัดสานักเรียนดีเด่น จานวน ๕ คน ๓) นักเรียนธรรมศึกษาจากสถาบัน ศึกษาดีเด่น จานวน ๓๐ คน ด้วยวิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก (in depth interview) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ จากข้อมูลเอกสารและวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการศึกษาพบว่า ๑. การเรียนการสอนหลักสูตรธรรมศึกษา มีเนื้อหาสาระของโครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็น ๔ วิชาหลัก ธรรมศึกษาชั้นตรี ได้แก่ วิชาเรียงความกระทู้ธรรม วิชาธรรม วิชาพุทธประวัติและ ศาสนพิธี วิชาวินัย (เบญจศีล เบญจธรรม) ธรรมศึกษาชั้นโทเพิ่มวิชาอนุพุทธประวัติและศาสนพิธี วิชาวินัย (อุโบสถศีล) และธรรมศึกษาชั้นเอกเพิ่มหัวข้อ วิชาพุทธานุประวัติ วิชาวินัย (กรรมบถ) ในแต่ ละระดับชั้นจะมีเนื้อหารายละเอียดมากขึ้นตามลาดับ เป็นเนื้อหาที่เน้นภาคทฤษฎี จัดการเรียนการ สอนภายใต้สังกัดสานักเรียน การวัดประเมินผลด้วยวิธีการสอบจัดโดยสานักแม่กองธรรมสนามหลวง ๒. วิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน มีโครงสร้างหลักสูตรสังเคราะห์อยู่ในหมวดพระ รัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในแต่ละหัวข้อ จะมีการสังเคราะห์หลักธรรมอื่นๆ เป็น โครงสร้างรอง โดยระดับประถมศึกษาสังเคราะห์ในหลักโอวาท ๓ ส่วนในระดับมัธยมศึกษาสังเคราะห์ หลักอริยสัจ ๔ มีรายละเอียดเนื้อหาแตกต่างกันตามระดับชั้น หลักธรรมในวิชาพระพุทธศาสนาจะเน้น การเชื่อมโยงหลักธรรมอื่นๆที่สัมพันธ์กัน เนื้อหาสาระจะเน้นให้นักเรียนมีความเสื่อมใสศรัทธาในพระ รัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเน้นการปฏิบัติ ศาสนพิธี หน้าที่ชาวพุทธ มารยาทชาว พุทธ เพื่อให้นักเรียนนาไปปรับใช้ในชีวิตประจาวัน วิชาพระพุทธศาสนาอยู่ในหมวดสังคมศึกษา มีการ สร้างตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้อย่างชัดเจน ๓. หลักสูตรธรรมศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีความสอดคล้องกับหลักสูตรพระพุทธศาสนาใน โรงเรียน เนื่องจากโครงสร้างหลักสูตรแตกต่างกัน โดยบางหลักธรรมมีหัวข้อธรรมที่ตรงกัน แต่เนื้อหา สาระแตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์เป็นรายวิชาพบว่า วิชาพุทธประวัติและศาสนพิธี วิชาอนุพุทธประวัติ และศาสนพิธี และวิชาพุทธานุประวัติ มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในแต่ละ ช่วงชั้นมากที่สุด ๔. หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ธรรมศึกษาชั้นโท ธรรมศึกษาชั้นเอก มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนโดยภาพรวมในแต่ละช่วงชั้นที่แตกต่างกัน โดยหลักสูตร ธรรมศึกษามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิชาพระพุทธศาสนาในช่วงชั้นที่ ๑ ค่อนข้างน้อยมาก เมื่อ วิเคราะห์เป็นรายวิชาพบว่า วิชาพุทธประวัติและศาสนพิธี วิชาอนุพุทธประวัติและศาสนพิธี และวิชา พุทธานุประวัติ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมากกว่าวิชาอื่น และวิชาเรียงความกระทู้ธรรมไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน ทุกช่วงชั้นการศึกษา แนวทางการส่งเสริมธรรมะและหลักสูตรธรรมศึกษาในสถานศึกษามีองค์ประกอบสาคัญ ๓ ส่วน ได้แก่ ผู้บริหาร พระสอนศีลธรรม นักเรียน โดยผู้บริหารเป็นผู้กาหนดนโยบายและมีบทบาท ในการกระตุ้นและเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนธรรมศึกษาในสถาบันการศึกษา พระสอนศีลธรรม เป็นผู้มีบทบาทในการประสานกับโรงเรียน ทากิจกรรมส่งเสริมวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ร่วมกับโรงเรียน จัดหลักสูตรการเรียนการสอนธรรมศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ หลักธรรมคาสอน สามารถนาไปปฏิบัติใช้ได้จริงในชีวิตประจาวัน นักเรียนส่วนใหญ่ได้แสดงความ คิดเห็นโดยรวมพบว่า หลักสูตรธรรมศึกษามีเนื้อหาค่อนข้างยากต่อความเข้าใจในระยะเวลาที่มีจากัด ทาให้นักเรียนไม่สามารถเข้าใจหลักธรรมได้อย่างถูกต้อง ข้อเสนอแนะคือ ควรจัดเวลาเรียนเพิ่มขึ้น และปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ง่ายต่อความเข้าใจ และใช้เทคนิคการสอนที่ทาให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้เพิ่มขึ้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/756
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-159 ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.