Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/755
Title: | ดนตรีพื้นบ้าน: ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และการส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน |
Other Titles: | Folk music: history, beliefs and the promotion of community learning |
Authors: | ศรีสมุทร, ประสิทธิ์ ฐิติญาโณ, พรสวรรค์ วชิรญาโณ, ณัฐพงศ์ แสงมาศ, วรากร ยอดแก้ว, ชิตวัตน์ |
Keywords: | ดนตรีพื้นบ้าน ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ การส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อและพัฒนาการของสะไน เพื่อศึกษา การประยุกต์ใช้ดนตรีกับการส่งเสริมการเรียนรู้ และเพื่อวิเคราะห์การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านดนตรี พื้นบ้านสะไนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารวิชาการและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มจากกลุ่มเป้าหมาย นำผลการสนทนามาวิเคราะห์และเขียน รายงานการวิจัยด้วยวิธีเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า คติความเชื่อและพัฒนาการของสะไน ชาวเยอโบราณมีคำสอนเกี่ยวกับ การเป่าสะไนและมีฤดูกาลสำหรับการเป่าสะไนที่สำคัญคือ ถ้าจะเป่าสะไนต้องเป่าตั้งแต่ข้างแรมเดือน ๘ ค้อย จนถึงเดือนอ้ายปลายเดือน ถ้านอกจากระยะเวลาดังกล่าวห้ามเป่าสะไน เพราะถือว่าเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์หากนำมาทำเล่นเพื่อความสนุกสนานโดยไม่รู้จักกาลเทศะย่อมเป็นสิ่งไม่ดี หากเป่าในช่วงนี้ก็ จะเป็นผลดีต่อพืชพันธุ์น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ การประยุกต์ใช้ดนตรีโดยได้นำสะไนมาประกอบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น อันได้แก่ กลอง ฉิ่ง แคน เป็นต้น จัดการก่อตั้งวงดนตรีสะไนใจเยอขึ้นมานั้น นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไปแล้วก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อีกด้วย การก่อตั้งวง สะไนใจเยอ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงแบบชาวเยอให้คงอยู่คู่ลูกคู่หลานสืบไป นับว่าเป็นการละเล่นที่แสดงถึงความสมัครสมานสามัคคีของชุมชน แต่ในระยะหลังมาได้มีการเชิญให้ ไปแสดงยังส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่างๆ มีการประดิษฐ์ท่าร่ายรำประกอบเพื่อให้การแสดงการเป่า สะไนให้มีรสชาติมีลีลามากยิ่งขึ้น การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านดนตรีพื้นบ้านสะไน เดิมถ่ายทอดความรู้วิชาโดยใช้วิธีแบบ มุขปาฐะ และวิธีครูพักลักจำ ปัจจุบันมีการจัดทำหลักสูตรการสอนสะไนในโรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) มีการถ่ายทอดฝึกการเป่าและการฟ้อนรำประกอบการเป่าสะไน มีการส่งเสริมและ รักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอื่นๆ หน่วยงานด้านวัฒนธรรมได้ส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับสะไน อย่างต่อเนื่องและให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมเป่าสะไนในพื้นที่หมู่บ้านชาวเยอ มีการส่งเสริมให้ ประกวดเป่าสะไนในงานศิลปะหัตกรรมนักเรียนระดับอำเภอและระดับจังหวัดของพื้นที่จังหวัด ศรีสะเกษเป็นประจำทุกปี ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้นำเอาวัฒนธรรมการเป่าสะไน ไปประยุกต์เป็นศิลปะการแสดงที่สามารถแสดงโชว์และเผยแพร่สู่สาธารณะได้อย่างโดดเด่น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/755 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2562-036 นายประสิทธิ์ ศรีสมุทร.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.