Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/754
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอ่อนทรวง, จุมพต-
dc.contributor.authorดำรงค์-
dc.contributor.authorขวัญคง, จิรพจน์-
dc.contributor.authorวิศิษฏ์ใจงาม, อภิพัธน์-
dc.contributor.authorอาสนาชัย, สุทัศน์-
dc.date.accessioned2022-03-30T09:11:39Z-
dc.date.available2022-03-30T09:11:39Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/754-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของวัดในจังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษากระบวนการพัฒนาสื่อเพื่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา ๒) พัฒนาสื่อภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของวัดที่สำคัญในจังหวัดพิษณุโลก และ ๓) นำเสนอสื่อภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และการประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น ๑๙ คน ประกอบด้วย ๑) ตัวแทนพระสงฆ์ ไวยาวัจกรวัด คณะกรรมการบริหารวัดพระศรีรัตน มหาธาตุวรมหาวิหาร จำนวน ๓ รูป/คน ๒) ตัวแทนพระสงฆ์ ไวยาวัจกรวัด คณะกรรมการบริหารวัดราชบูรณะ จำนวน ๓ รูป/คน ๓) ตัวแทนพระสงฆ์ ไวยาวัจกรวัด คณะกรรมการบริหารวัดนางพญา จำนวน ๓ รูป/คน และ ๔) นิสิตวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๑๐ รูป/คน เครื่องมือในการวิจัย คือ ๑) แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร ๒) แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อภาษาอังกฤษฯ และ ๓) แบบบันทึกประเด็นการประชุมกลุ่มย่อย ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย (x ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า ๑. กระบวนการพัฒนาสื่อภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของวัดจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ ๑) ขั้นการวางแผน เป็นการกำหนดเนื้อหารายการและหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการทำ กำหนดระยะเวลา วิเคราะห์ผู้ชม กำหนดวัตถุประสงค์ และเตรียมงบประมาณในการผลิต ๒) ขั้นเตรียมการผลิต เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านบทวีดิทัศน์ บุคลากร เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ งานศิลปกรรม ฉาก สถานที่ถ่ายทำ ผู้แสดง และงานกราฟิก ๓) ขั้นผลิต แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นการซ้อม เป็นการเตรียมตัวให้ทุกคนมีความพร้อมก่อนถ่ายทำจริง ถ้าพบข้อบกพร่องจะได้ทำการแก้ไขก่อนการถ่ายทำจริง ขั้นถ่ายทำ เป็นการบันทึกวีดิทัศน์ตามแผนการทำงานที่วางไว้ และขั้นตัดต่อ เป็นการนำภาพมาตัดต่อให้เป็นเรื่องราวตามบท โดยใช้เครื่องช่วยตัดต่อ ตลอดจนการบันทึกเสียงดนตรี เสียงบรรยาย เสียงประกอบ และเทคนิคพิเศษต่างๆ ลงไป และ ๔) ขั้นประเมิน เป็นการประเมินผลการผลิตสื่อวีดีทัศน์ใน ๔ ด้าน ประกอบด้วย คุณภาพของเนื้อหา คุณภาพของภาพ คุณภาพของเสียง และคุณภาพของเทคนิคในการนำเสนอ ๒. ผลการพัฒนาสื่อภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของวัดที่สำคัญในจังหวัดพิษณุโลก มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณภาพของภาพอยู่ในระดับมาก และด้านคุณภาพของเทคนิคในการนำเสนออยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ๓. ผลการนำเสนอสื่อภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย สรุปตามประเด็นดังนี้ ๑) จุดเด่นคือ มีเนื้อหาชวนติดตาม เรื่องราวดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ผู้แสดงในเรื่องพูดจาชัดเจนและฟังเข้าใจได้ง่าย ภาพมีความคมชัด เสียงมีความชัดเจน ข้อมูลที่นำเสนอมีความถูกต้องและอ้างอิงได้เป็นอย่างดี ๒) จุดที่ควรปรับปรุงคือ ระยะเวลาบางฉากที่มีความน่าสนใจสั้นเกินไป ควรเพิ่มแนวดนตรีที่สามารถสร้างสีสันและชวนให้เกิดความเร้าใจมากกว่านี้ และ ๓) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ ในการบันทึกเสียงควรใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อป้องกันลมจากปากเวลาพูด และการบันทึกภาพควรใช้กล้องในการถ่ายทำอย่างน้อย ๒ ตัว เพราะจะได้ภาพที่ลึกและลื่นไหลมากกว่านี้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาสื่อภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectวัดในจังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.titleการพัฒนาสื่อภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของวัดในจังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeThe Development of English Media for Temple Promoting Tourism in Phitsanuloken_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-042 นายจุมพต อ่อนทรวง.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.