Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/753
Title: | การพัฒนาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในการท่องเที่ยวแก่ควาญช้าง เด็กและเยาวชนตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | The Development of English Learning Package for Tourism through Tourism Activities to Mahouts, Children, and Young Students in Meayaow Sub-district, Chiang Rai Province |
Authors: | สุกันโท, กำพล |
Keywords: | ชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การท่องเที่ยว ควาญช้าง เด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงราย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในการท่องเที่ยวแก่ควาญช้าง เด็กและเยาวชน ตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญในตาบลแม่ยาวที่มีปัจจัยต่อการจัดทาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อจัดทาชุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารการท่องเที่ยวแก่ควาญช้างบ้านรวมมิตร เด็กและเยาวชน เพื่อใช้สื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและเพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสารสาหรับการท่องเที่ยวแก่ควาญช้างเด็กและเยาวชนในตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ควาญช้างบ้านรวมมิตรจานวน ๑๐ คนเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ ๓ หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่บ้านรวมมิตร หมู่บ้านสองแควพัฒนา หมู่บ้านทรายมูล หมู่บ้านละ ๒๐ คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น ๗๐ คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า มีแหล่งท่องเทียวที่สาคัญในตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จานวน ๑๐ แห่ง เช่น ๑. แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานถ้าพระ ๒. แหล่งท่องเที่ยวทัวร์ช้างบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร ๓. แหล่งท่องเที่ยวหาดผาขวาง ๔. แหล่งท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านสองแควพัฒนา ๕. แหล่งท่องเที่ยวน้าตกสองแควพัฒนา ๖. แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านอาผ่าพัฒนา (ชาวเขาเผ่าอาข่า) ฯลฯ ด้านนักท่องเที่ยวที่เข้าไปท่องเที่ยว พบว่า แต่ละสถานที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเฉลี่ยประมาณ ๕ ถึง ๑๐ คน/วัน ด้านการจัดการความรู้ภาคภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า แหล่งท่องเทียวที่สาคัญในตาบลแม่ยาว อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จานวน ๑๐ แห่ง ส่วนมากไม่มีการจัดการความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบวัดความสามารถการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ของกลุ่มเป้าหมายก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า มีพัฒนาการความสามารถใน ๔ ทักษะของภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น องค์ความรู้ที่ค้นพบได้แก่ชุดความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม ขบธรรมเนียม ความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์และด้านการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/753 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-062 กำพล สุกันโท.pdf | 5.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.