Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/751
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในจังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Development of Products and Support of Right Livelihoods of Five Precepts Observing Communities in Sisaket Province
Authors: ประทุมแก้ว, สุทัศน์
ธรรมทวี, พระมหาธงชัย
แสงรุ่ง, พระกัญจน์
ใจตรง, พระพรสวรรค์
Keywords: การพัฒนา
ผลิตภัณฑ์
สัมมาชีพ
หมู่บ้านรักษาศีล ๕
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาหลักสัมมาชีพที่ปรากฏในคัมภีร์ทาง พระพุทธศาสนา ๒. เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ใน จังหวัดศรีสะเกษ ๓. เพื่อวิเคราะห์ศีล ๕ กับการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสัมมาชีพในจังหวัด ศรีสะเกษ จากการศึกษาพบว่า การส่งเสริมสัมมาชีพของชุมชนต้องมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ๒ ด้าน คือ (๑) ด้านเศรษฐกิจ คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนโดยการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดหนี้สิน ซึ่งจะสามารถเพิ่มทรัพย์สินได้ (๒) ด้านสังคม คือ การพัฒนาด้านความสัมพันธ์ของคนใน สังคมให้ปราศจากความขัดแย้ง มีความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยปฎิบัติตาม “โครงการหนึ่ง ตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนโดยมุ่งเน้นการ เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนอันเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ด้วยการนำทุนชุมชนที่มีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางชีวภาพ และทุนทางสังคม มาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน วิสาหกิจชุมชน ดังนั้น มูลเหตุที่มาของการนำศีล ๕ มาสอนนั้น ก็เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึง ความสำคัญของศีล ๕ มิใช่แต่เป็นเพียงความประพฤติที่ดีงาม เป็นศีลธรรมในระดับบุคคลเท่านั้น แต่ยังสัมพันธ์ไปถึงความประพฤติในระดับสังคมด้วย หากว่าสังคมหมู่ใดก็ตามมีผู้ผิดศีล ไม่ว่าจะเป็น ข้อใดก็ตาม ย่อมสร้างความเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคมให้ขยายมากขึ้น ศีล ๕ ในระดับบุคคลนั้น ข้ออทินนาทาน เป็นจุดเริ่มของการผิดศีล ทำให้เกิดการละเมิดศีลข้ออื่นตามมาด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/751
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-042 ดร.สุทัศน์ ประทุมแก้ว.pdf13.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.