Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/747
Title: น้ำพุร้อน (Onsen) : นวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและ บำบัดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Other Titles: Hot Spring (Onsen) : An Innovation of Tourism Management for Health and Therapy by Community’s Participation.
Authors: ศรีทอง, เอื้อมทิพย์
Keywords: น้ำพุร้อน
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยว
ศักยภาพทางการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์์ เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการบำบัดของแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการบำบัดของแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนในสังคมไทย วิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม (mixed methods) เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาใช้บริการแหล่งน้ำพุร้อนทั่วทุกภูมิภาค จำนวน 17 แหล่ง 5 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ กำแพงเพชร ราชบุรี และระนอง ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน จึงใช้สูตร W.G. Cochran (1953) n = Z2/4e2 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และให้ความผิดพลาดไม่เกิน 5 % ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 384.16 เก็บจริง 385 คน เชิงคุณภาพใช้การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) กับผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการร้านค้า ชาวบ้าน นักศึกษาในพื้นที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิสุขภาพ ด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวทั้ง 5 จังหวัด 17 แหล่งน้ำพุร้อน พบว่า มีรูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวอยู่นในระดับมากทั้ง 5 จังหวัด โดยให้ความสำคัญกับแหล่งน้ำพุร้อนมีบรรญากาศดีร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ด้านการบริการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับน้ำพุร้อน มีความสะอาด บริสุทธิ์ ด้านการตลาด นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับแหล่งน้ำพุร้อนมีสปาและนวดแผนไทยไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว ศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนทั้ง 5 จังหวัด 17 แหล่งน้ำพุร้อน พบว่า มีศักยภาพที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สามารถแบ่งกลุ่มได้ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 บ่อน้ำพุร้อนที่มีการรวบรวมไว้แล้วเบื้องต้น แต่บ่อน้ำร้อนนั้นหายร้อนแล้วกลายเป็นพื้นดินตามปกติ ได้แก่ บ่อน้ำร้อนแม่วงศ์ จ.กำแพงเพชร กลุ่มที่ 2 มีการรวบรวมเป็นบ่อน้ำพุร้อนแล้วเบื้องต้น แต่ไม่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่องท่องเที่ยว ไม่ได้เปิดบริการให้บุคคลภายนอกเข้าไปใช้ ไม่มีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำร้อนโป่งน้ำร้อน, บ่อน้ำร้อนโป่งปูเฟือง, บ่อน้ำร้อนค่ายรัตนสังสรรค์ กลุ่มที่ 3 มีการรวบรวมน้ำพุร้อนแล้ว พบว่า มีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาบ้าง แต่ประสบปัญหาในการพัฒนาและการบริหารจัดการ ได้แก่ บ่อน้ำร้อนโป่งกระทิง, บ่อน้ำร้อนพรุหลุมพี, บ่อน้ำร้อนห้อยหมากเลี่ยม กลุ่มที่ 4 มีการรวบรวมเป็นแหล่งน้ำพุร้อนแล้วมีการเตรียมการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนา และเริ่มต้นให้บริการเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และมีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ได้แก่ ธานน้ำร้อนบ่อคลึง, บ่อน้ำร้อนโป่งพระบาท, บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ, ล้านนาออนเซ็น, บ่อน้ำร้อนดอยสะเก็ด, บ่อน้ำร้อนพรรั้ง กลุ่มที่ 5 มีการรวบรวมเป็นแหล่งน้ำพุร้อนแล้ว พบว่า มีการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนา มีกิจกรรมการท่องเที่ยว มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในกลุ่มนี้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดว่า น้ำพุร้อน มีคุณภาพ ได้แก่ บ่อน้ำร้อนพระร่วง, บ่อน้ำร้อนรักษะวาริน, บ่อน้ำร้อนสันกำแพง, บ่อน้ำร้อนแม่ขะจาน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/747
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558 สกอ.-รศ.ดร.เอื้อมทิพย์ ศรีทอง.pdf8.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.