Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/744
Title: บทบาทการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ของพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: The Participatory Roles of Monks in Driving The Sufficiency Economy in the Northeastern Region.
Authors: ตปสีโล, พระใบฏีกาสุพจน์
Keywords: บทบาท การมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
พระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วยการศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) คือ วิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ ประชาชนจำนวน ๙ จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี , อำนาจเจริญ , นครพนม , ขอนแก่น , หนองคาย , นครราชสีมา , บุรีรัมย์ , สุรินทร์ และร้อยเอ็ด ผู้วิจัยเก็บข้อมูล โดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ๓๒๕ รูป/คน และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) กลุ่มตัวอย่าง ๒๐ รูป/คน ผลวิจัยบทบาทการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ลักษณะบทบาทของพระสงฆ์กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงพอสรุปได้ดังนี้ คือ ๑) บทบาทตามหลักการของพระพุทธศาสนา เช่น การอบรมสั่งสอน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเป็นผู้นำทางพิธีกรรมทางศาสนา ๒) บทบาทตามที่สังคมคาดหวัง เช่น การส่งเสริมด้านต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษาของเยาวชน ประเพณีวัฒนธรรม สุขภาพ เป็นต้น ๓) บทบาทตามความสนใจหรือความถนัดของพระสงฆ์เอง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทัศนคติ ประสบการณ์ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ เช่น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม เกษตร เป็นต้น ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า พระสงฆ์ที่เป็นพระนักพัฒนาส่วนใหญ่มีแนวคิดในการประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เข้ากับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวนโยบายของรัฐอยู่แล้ว โดยเน้นการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาวัตถุไปพร้อมกัน ส่วนลักษณะการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจากการวิจัย พบว่าเป็นไปตามความพร้อมของพระสงฆ์ทั้ง ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑) การมีส่วนร่วมแบบพระสงฆ์ กับชาวบ้าน ซึ่งเป็นการนำวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น สภาพแวดล้อม ความพร้อมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น จากนั้นจึงได้นำแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาแนะนำและประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ๒) การเข้าไปมีส่วนร่วมแบบพระสงฆ์ ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน ๓) การเข้าไปมีส่วนร่วมแบบ พระสงฆ์ ชาวบ้าน ผู้นำชาวบ้าน และหน่วยงานราชการ ซึ่งในท้องถิ่นจะมีหน่วยงานที่เป็นทั้งของรัฐและเอกชน ดังนั้นพระสงฆ์ที่มีความต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในหน่วยงานนั้นๆ จะต้องสามารถประสานความร่วมมือจากหน่วยงานในท้องถิ่น เช่น สถาบันการศึกษา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา คือ การทำให้ประชาชนพออยู่พอกิน และมีส่วนนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/744
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-020 พระใบฏีกาสุพจน์ ตปสีโล.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.