Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/740
Title: การพัฒนาโครงสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุในสังคมไทย
Other Titles: The Development of Elderly’s Welfare Structure in Thai Society
Authors: ใยอินทร์, เอนก
ฐิตเมธโส, คมสัน
ลุงเฮือง, จ่ามยุ้น
Keywords: การพัฒนา
สวัสดิการผู้สูงอายุ
สังคมไทย
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาโครงสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุในสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาองค์ความรู้การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษา โครงสร้างการทางานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น ๓) เพื่อเสนอรูปแบบ โครงสร้างสวัสดิการที่เหมาะสมต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ศึกษาเฉพาะกรณีที่เทศบาลตาบลอุโมงค์ อาเภอเมืองลาพูน จังหวัดลาพูน การพัฒนาโครงสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุในสังคมไทย เพื่อถอดบทเรียน และนาเสนอเป็นชุมความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ การจัดสวัสดิการที่ไวต่อความต้องการและเหมาะสมต่อ บริบทในพื้นที่ใกล้เคียงในการนาไปพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมไทย ผลการวิจัย พบว่า ๑. แนวโน้มประชากรผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่ามีการคาดการในอนาคตว่าจะมีจานวนที่ลดลงเมื่อเทียบ กับประชากรวัยอื่นๆ แต่ยังอยู่ในช่วงวิกฤต เพราะอัตราการเกิดก็ลดตามไปด้วยเนื่องจากปัญหาการเจริญ พันธุ์ ในขณะเดียวกันจึงเป็นความท้าทาย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะ “เทศบาล” ซึ่งเป็น หน่ายงานที่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด จะต้องปรับวิธีการในการจัดสวัสดิการนอกเหนือที่รัฐจัดให้อย่าง เหมาะสม ๒. ผลการถอดบทเรียน พบว่าการจัดสวัดดิการแก่ผู้สูงอายุของเทศบาลตาบลอุโมงค์ อาเภอ เมืองลาพูน จังหวัดลาพูน มีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ ๑) การจัดสวัสดิการตามภารกิจที่รัฐกาหนดให้ โดยมี เทศบาลทาหน้าที่สนองนโยบาย โดยเริ่มจากการจัดทาระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพ ซึ่งเป็นระบบที่จัดทาไว้เพื่อดาเนินงานในสวัสดิการของโดยตรง เช่น เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ๒) การจัด สวัสดิการแบบการผสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และชุมชน ที่มีเจตนารมณ์ในการ ทางานบนฐานข้อมูล และใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยการให้มีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น นาไปสู่การ ออกแบบโครงการ/กิจกรรมร่วมกัน ที่เกิดจากความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างแท้จริง พบว่ามีถึง ๙ โครงการดังนี้ ๑) Long Term Care : LTC ๒) โรงเรียนดอกซอมพอ ๓) อาสาปันสุข ๔) กองทุน สวัสดิการประชาชนตาบลอุโมงค์ ๕) เฮือนสมุนไพร ๖) ผู้สูงอายุอุโมงค์ยุคใหม่สู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมาร์ท ๗) ธรรมสัญจร วิถีพุทธ วิถีศีล ๕ ๘) แผนชุมชน ๙) กองทุนขยะบุญ ๓. ด้านการสร้างมาตรการส่งเสริมการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุให้เหมาะสม ควรกาหนดมาตรการ ให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ประเด็น คือ ๑) การส่งเสริมสุขภาพกาย ๒) การส่งเสริมสุขภาพจิต ๓) การส่งเสริม สุขภาพทางปัญญา และ ๔) การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/740
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-234 Anek_Yai-in.pdf7.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.