Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/738
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสิริเมโธ, พระมหาประกาศิต-
dc.contributor.authorสดประเสริฐ, สัญญา-
dc.date.accessioned2022-03-30T07:55:06Z-
dc.date.available2022-03-30T07:55:06Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/738-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาจิตสานึกความเป็นพลเมืองในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองของชุมชนในจังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองในจังหวัดนครปฐมตามหลักพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อสร้างเครือข่ายจิตสานึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองเชิงพุทธของชุมชนในจังหวัดนครปฐม ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จานวน ๓๗๕ ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ทาการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน ๒๔ รูป/คน และทาการสนทนากลุ่มเฉพาะ จานวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑. จิตสานึกความเป็นพลเมืองในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองของชุมชนในจังหวัดนครปฐม จากการศึกษาบริบทการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองของชุมชนเมืองในพื้นที่ศึกษาเห็นได้ถึงกลไกการกลายเป็นเมือง คือ “พลังบวร” โดยมี “ทุนของชุมชน” ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะผลักดันให้ชุมชนเกิดการพัฒนา ความร่วมมือจากภาคประชาสังคม การมีผู้นาที่มีวิสัยทัศน์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมที่ต้องการเห็นการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่าง ๆ สามารถปลูกศรัทธาและความจิตสานึกร่วมของคนในชุมชนได้ การมีศาสนสถาน คือ วัดเป็นศูนย์รวมใจ เป็นทั้งแหล่งขายโอกาสทางการศึกษา เป็นแหล่งส่งเสริมเศรษฐกิจ ความเกลื้อกูลพึ่งพาอาศัยกันระหว่างวัดกับชุมชน ทาให้กิดจิตสานึกร่วมในการดาเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนสู่ความเป็นเมืองที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนในชุมชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงได้มีโอกาสเสนอแนะความคิดร่วมกันในการขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาชุมชน เป็นแสดงออกถึงการมีจิตสานึกความเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย ๒. กระบวนการเสริมสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองในจังหวัดนครปฐมตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๔ กระบวนการ คือ ๑) สร้างการเรียนรู้ปลูกฝังจิตสานึกความเป็นพลเมืองดี ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร กระบวนการคิดแบบสัมมาทิฏฐิ และกระบวนการปฏิบัติที่สมควร ๒) สร้างกิจกรรมพัฒนาจิตสานึกความเป็นพลเมืองดี โดยยึดหลักการสาคัญ คือ หลักจริยธรรม หลักคุณธรรม หลักศีลธรรม และหลักจิตสาธารณะ ๓) สร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาจิตสานึกความเป็นพลเมืองดี อาศัยหลักคารวธรรรม หลักสามัคคีธรรม และหลักปัญญาธรรม และ ๔) การบูรณาการตามบริบทที่เหมาะสมกับบริบททางสังคม อัตลักษณ์ และจารีตทางวัฒนธรรม ๓. การสร้างเครือข่ายจิตสานึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองเชิงพุทธของชุมชนในจังหวัดนครปฐม โดยการมีส่วนร่วมของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันทางศาสนา สถาบันการปกครอง และสื่อสารมวลชน ที่ร่วมกันส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีวัฒนธรรม การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักศาสนาและจารีตประเพณี การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เพื่อเป็นพลเมืองดีในครอบครัว เป็นพลเมืองดีในศาสนา เป็นพลเมืองดีในโรงเรียน เป็นพลเมืองดีในท้องถิ่น และเป็นพลเมืองดีของประเทศ โดยเครือข่ายควรมีความสัมพันธ์เชิงกระบวนการเชื่อมโยงสอดประสานกันอย่างเป็นระบบen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectเครือข่ายen_US
dc.subjectจิตสานึกความเป็นพลเมืองดีen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชนen_US
dc.subjectความเป็นเมืองเชิงพุทธen_US
dc.subjectจังหวัดนครปฐมen_US
dc.titleการสร้างเครือข่ายจิตสานึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชน และความเป็นเมืองเชิงพุทธ ในจังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeNetwork Conscious Building The Good Citizenship in Community Development and Urbanized Buddhist Community in Nakhonpathom Provinceen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.