Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/736
Title: | พระพุทธรูปสำคัญ : แนวคิด คุณค่า และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย |
Other Titles: | The Important Buddha Images : Concepts, Values and Influences in Thai Society |
Authors: | ศรีอร่าม, ภูริทัต พระครูสุตธรรมาภร สิริวฑฺฒโน, วิเชียร พิธิยานุวัฒน์, เจตนิพัทธ์ |
Keywords: | พระพุทธรูปสำคัญ แนวคิด คุณค่า อิทธิพล สังคมไทย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัย เรื่อง พระพุทธรูปสำคัญ : แนวคิด คุณค่า และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย เพื่อศึกษาแนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของ พระพุทธรูปสำคัญกับพัฒนาการทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เจ้า อาวาส ผู้นำชุมชน นักวิชาการศาสนาและประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ ประชาชนผู้มานมัสการ พระพุทธรูปสำคัญ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน ๑๗ รูป/คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key- Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผล การศึกษาพบว่า ๑. ประวัติความเป็นมาและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า ๑) หลวงพ่อโสธร ไม่ได้ทำขึ้นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยฝีมือเป็นช่างแบบลานช้าง หรือแบบพระลาว ครั้งแรกหล่อด้วยสำริด ภายหลังพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายใน พระพุทธลักษณ์จึงเป็นแบบ ปูนปั้น ลงรักปิดทองพระวรกายแบบเทวรูป พระพักตร์แบบศิลปะลานนา ตามประวัติสร้างในสมัยลาน ช้างและล้านนา ๒) หลวงพ่อวัดไร่ขิง ตามตำนานกล่าวว่าได้ถูกอัญเชิญมาจากกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) ลักษณะพุทธศิลป์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ พุทธศิลป สมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่า เป็นฝีมือช่างสมัยล้านนาและล้านช้าง ๓) หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นหนึ่งในพระพุทธรูป ๓ องค์ที่ลอยมาตามลำน้ำ และได้ล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านพากัน อาราธนาให้ขึ้นที่ปากคลองสำโรง ได้อัญเชิญท่านขึ้นไปประดิษฐานในวิหาร และอาราธนาประดิษฐาน ไว้ในอุโบสถ เพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน ลักษณะพุทธศิลป์ของหลวงพอ่ โต วัดบางพลี ใหญ่ใน เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) ศิลปะสุโขทัย ๔) หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ อิริยาบถยืนปางอุ้มบาตร ภายในองค์พระโปร่ง ขนาดสูงตั้งแต่ ปลายนิ้วพระบาทถึงยอดพระเกตุมาลาประมาณ ๑๗๐ เซนติเมตร ประดิษฐานท่ายืนอยู่บนแท่น มี พุทธลักษณะเป็นศิลปะตามสมัยสุโขทัยตอนปลายจนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีลักษณะพิเศษ คือ พระพักตร์งดงาม อ่อนช้อยราวกับเทพบุตร ส่วนพระหัตถ์เป็นคนละชิ้นกับพาหาทำให้สามารถถอด ออกประกอบได ้ พระบาทไม่สวมฉลอง พระบาทแบบพระพทุ ธรปู ทรงเคร่อื งที่เรยี กว่าพระโพธิสัตว์สมัย อยุธยา พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิงแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สังฆาฏิพาดยาวลงมาถึงพระชงฆ์ จีวรทำแผ่นเป็นแผ่นแผงอยู่เบื้องหลัง แท่นฐานรองพระบาทนั้นตอนบนทำเป็นรูปดอกบัวบานรองรับ พระบาท ตอนล่างทำเป็นฐานย่อมุมสิบสอง เป็นรูปฐานพระเจดีย์ ล่างสุดทำเป็นฐานเท้าสิงห์มีลวดลาย วิจิตรบรรจง ๒. แนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า พระพุทธรูปมีความศักดิ์สิทธิ์สามารถช่วยให้บรรลุในสิ่งที่ตนประสงค์ได้ โดยชาวพุทธส่วนใหญ่มองว่า การได้กราบไหว้สักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญเพื่อความเป็นสิริมงคล และนิยมไปไหว้พระพุทธรูปที่มี ชื่อเสียง ซึ่งเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ โดยการเล่าลือกันมาอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการถือมงคลตื่นข่าวซึ่งไม่ สอดคล้องกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงควรฝึกตนให้เข้ากับหลักการพื้นฐานของ พระพุทธศาสนา ที่สอนให้พึ่งตนเอง สอนให้ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ หรือสามารถพึ่งตนได้ และสอน มรรคาแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ซึ่งในขั้นสุดท้าย ให้ข้ามพ้นได้แม้กระทั่งศรัทธาที่มีเหตุผล ไปสู่ ความเป็นอยู่ด้วยปญั ญาบริสุทธิ์ เริ่มต้นมรรคาจากการอิงอาศัยปญั ญาส่องนำขององค์พระศาสดาผูเ้ ป็น กัลยาณมิตร ไปสู่การยืนได้ลำพังตน โดยไม่ต้องอาศัยการประคับประคองของพระศาสดา ๓. การวิเคราะห์อิทธิพลของพระพุทธรูปสำคัญกับพัฒนาการทางพระพุทธศาสนาใน สังคมไทย พบว่า การที่พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้สักการะพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องหมาย สื่อแทนพระพุทธเจ้า ได้ระลึกนึกถึงพุทธคุณ นึกถึงหลักธรรมคำสอนแล้วน้อมนำเอามาใช้ประพฤติ ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อยู่บนพื้นฐานของปัญญาหรือความมีเหตุผล โดยมุ่งหมายให้เกิดความสงบทาง ใจ และเกิดสติปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิต ก็ชื่อว่าได้พัฒนาจิตใจ และปัญญา สามารถอบรมเจริญ วิปัสสนาซึ่งเป็นหนทางการดับกิเลส หรือความหลุดพ้นได้, พระพุทธรูปสำคัญเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ของแต่ละจังหวัด และเป็นเครื่องหมายสื่อแทนพระพุทธเจ้าที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อพุทธศาสนิกชนเป็น อย่างมาก เป็นรากฐานแห่งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิด จนถึงตาย เป็นสัญลักษณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนา เป็นวัตถุธรรมที่สร้างขึ้นเพื่อแทนองค์จริงของ พระพุทธเจ้า และแฝงไว้ด้วยปรัชญาและคติคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง นำมาสู่ความระลึก ถึงพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นบุคคลสำคัญผู้เป็นบรมครูและเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนเพื่อให้พ้ นทุกข์อันเป็นแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนา |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/736 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-210 ภูริทัต ศรีอร่่าม.pdf | 6.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.