Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/735
Title: พุทธจิตวิทยาบูรณาการ : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม
Other Titles: The Integrated Buddhist Psychology: the Model and Process for Promotion Holistic Health of Families and Society
Authors: พระครูสิริรัตนานุวัตร
โชติปญฺโญ, ไกรสร
สุยะใจ, ประยูร
อุปสอด, อนันต์
มหัทธนาดุลย์, สานุ
Keywords: พุทธจิตวิทยาบูรณาการ
สุขภาวะองค์รวม
พุทธจิตวิทยา
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: รายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา (๑) ศึกษาแนวคิดและกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา (๒) ศึกษาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมในการดาเนินชีวิตอย่างสมดุลตามหลักพุทธจิตวิทยา (๓) ศึกษากระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการ (๔) บูรณาการหลักพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม (๕) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการ เป็นวิธีวิจัยเน้นเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากภาคสนาม ครอบคลุมสุขภาวะองค์รวม ๔ ด้าน คือด้านกาย จิต ปัญญา และสังคมร่วมกับพุทธจิตวิทยาเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา สังคหวัตถุ อริยสัจ อริยมรรค อปริหาริยธรรม ภาวนา ปริจจาคะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดสุขภาวะในพระพุทธศาสนามีทั้งแนวศึกษาเรียนรู้ เช่นคาสาคัญว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ทั้งแนวความเชื่อกรรม เช่น คนหยาบช้า มักประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย มีผลให้เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อกลับมาเกิดใหม่ จะมีโรคมาก อายุสั้น พระพุทธเจ้าบัญญัติวินัยสงฆ์เพื่อสุขภาพ ห้ามภิกษุพรากของเขียว ห้ามทิ้งของเน่าของเสียลงในน้า ตรัสสอนให้ทาความสะอาดเสนาสนะ จัดของใช้สอยให้มีสุขลักษณะ ทาอารามให้ร่มรื่น ในส่วนพระธรรมพระพุทธเจ้าจะเทศนาการดูแลสุขภาวะทางจิตด้วยการปฏิบัติสมาธิ มีความเมตตา ความปรารถนาดีเป็นวิถีชีวิต การดูแลสุขภาวะทางปัญญาโดยทากิจกรรมอบรมปัญญา เรียนรู้อริยสัจธรรม เข้าใจกฎไตรลักษณ์ การดูแลสุขภาวะทางสังคม โดยทากิจกรรมสังคมสงเคราะห์ตามอุดมคติแห่งการเผยแผ่ธรรม ว่า เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขและสังคมสงเคราะห์แก่พหูชน พระสงฆ์มีกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะ ๔ ด้าน คือ ด้านกาย มีกลุ่มตัวอย่างฮักเมืองน่าน กลุ่มนี้จัดกิจกรรมปลูกป่า บวชต้นไม้ รักษาแหล่งน้าลาธาร ทาเกษตรแปรรูป ทาธุรกิจชุมชน รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ปลูกฝังจิตสานึกในบ้านเกิด เคารพบุพพการี และบารุงรักษาศิลปวัฒนธรรม ด้านจิตใจ มีกลุ่มตัวอย่างสานักปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อชา มีผลสัมฤทธิ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ขยายสานักปฏิบัติสู่ต่างประเทศจานวนมาก ด้านปัญญา มีกลุ่มตัวอย่างวัดปัญญานันทาราม จัด กิจกรรมพัฒนาปัญญา โดยค่ายพุทธบุตร ค่ายพุทธธรรม โครงการติดอาวุธทางปัญญา เพื่อเรียนรู้สัจธรรม สร้างทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านสังคม มีกลุ่มตัวอย่างวัดพระบาทน้าพุ จัดกิจกรรมดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์บนฐานของกรุณาธรรม โดยการให้การศึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์และทาฌาปนกิจศพผู้ติดเชื้อเอดส์ ประเด็นการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมเพื่อวิถีชีวิตที่สมดุลตามแนวพุทธจิตวิทยา ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบ ๔ ประการของสุขภาพซึ่งก่อให้เกิดสุขภาวะองค์รวมของชีวิต องค์ประกอบดังกล่าวมีลักษณะเด่นที่ปรากฏแตกต่างกันคือ ร่างกายรูปธรรม ศีลแห่งสังคม จิตที่สงบนิ่ง และปัญญาแห่งการตื่นรู้ ตามลาดับซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่มาจากความต้องการ ๕ ชนิดของมนุษย์ที่ถูกเติมเต็มตามทฤษฎีลาดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs theory) ได้แก่ความต้องการด้านสรีระวิทยา ด้านความปลอดภัย ด้านสังคม ด้านยกย่องนับถือ และด้านการตระหนักตนเอง เมื่อความต้องการเหล่านี้ถูกเติมเต็ม วิถีชีวิตของมนุษย์ก็จะเกิดดุลยภาพ สาหรับแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมแบ่งออกเป็น ๔ มิติ ได้แก่ (๑) การสร้างเสริมสุขภาพกายด้วยหลักสันโดษ (๒) การสร้างเสริมสุขภาพศีลด้วยการรักษาศีล ๕ การคบกัลยาณมิตร และการประพฤติสังคหะวัตถุ (๓) การสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยการปฏิบัติสมถะกรรมฐาน และการบาบัดด้วยการรู้อาศัยสติ (MBCT) (๔) การสร้างเสริมสุขภาพปัญญาด้วยสติปัฏฐาน ๔ และทาง ๔ สาย ประเด็นการศึกษากระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการ มีแนวคิดด้วยการให้ความรัก ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคมให้แก่สมาชิกในครอบครัว มีพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงในครอบครัวเริ่มจาก ๑. การสร้างกิจกรรมสันทนาการร่วมกันในครอบครัว ๒. การกล่อมเกลาทางสังคมในครอบครัว ๓. การสอนให้ปฏิบัติตามจารีตประเพณีที่สืบต่อกันมา มีรูปแบบเสริมสร้างความมั่นคงในครอบครัว ด้วยการสร้างกาลังใจให้กับบุคคลภายในครอบครัวตามโอกาสสาคัญต่างๆ และการส่งเสริมให้คนในครอบครัวรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ประเด็นการบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม ใช้ภาวนา ๔ นาไปสู่กระบวนการค้นหาแนวทางการประยุกต์ใช้พุทธจิตวิทยาบูรณาการในการส่งเสริมสุขภาวะ จึงพบว่า หลักพุทธจิตวิทยา ได้แก่ ๑) หลักสังคหวัตถุ ที่เน้นการสร้างประโยชน์สวนรวมทาให้ก่อเกิดความมีสังคมที่เข้มแข็ง ๒) หลักอริยสัจ ๔ ที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกันเกิดความตระหนักถึงความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อชุมชนตระหนักรู้แล้วนั้นจะสามารถค้นหาสาเหตุและหาแนวทางร่วมกัน ๓) หลักไตรสิกขา เน้นการเตรียมคนในพื้นที่ให้มีศีลธรรม พร้อมที่จะดาเนินการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน และการมุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจ ๔) หลักอริยมรรค เป็นการศึกษากระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวและสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/735
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-057 พระครูสิริรัตนานุวัตร.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.