Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/733
Title: พุทธศิลป์ล้านนา แนวคิด คุณค่า เพื่อเสริมสร้างจริยธรรมทาง สังคม : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
Other Titles: THE OF CONCEPT AND VALUES OF THE BUDDHIST ART IN LANNA IN SUPPORTING OF SOCIETIES’ ETHICS : A CASE STUDY IN CHIANG MAI AND LAMPHUN PROVINCE
Authors: ปันธิยะ, พูนชัย
Keywords: พุทธศิลป์ล้านนา
จริยธรรมทางสังคม
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเรื่อง มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติ แนวคิด และคุณค่าพุทธศิลป์ล้านนา ๒) เพื่อศึกษาหลักคาสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการเสริมสร้างจริยธรรมทางสังคม ในกระบวนการอนุรักษ์พุทธศิลป์ล้านนาอย่างเป็นระบบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ๑.ประวัติ แนวคิด และคุณค่าของพุทธศิลป์ล้านนา คือ ศิลปะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์และการแสดงอารมณ์ความรู้สึกความชื่นชมในความงามภายใจของมนุษย์ ศิลปะทางศาสนา ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์หลายประการ เช่น ๑. ประโยชน์ในการใช้สอย ๒. สร้างความเพลิดเพลินทางจิตใจ ๓. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวความเชื่อถือในศาสนา ตัวอย่าง พระพุทธสิหิงค์ ล้านนา มีลักษณะพระอุระงามดั่งราชสีห์ ในด้านหลักพุทธธรรม ได้พบว่า ศิลปินได้สื่อธรรมผ่านพุทธศิลป์ บนพื้นฐานความศรัทธาที่มีปัญญาเป็นเครื่องกากับ โดยมุ่งแสดงหลักแห่งความจริงและความเป็นเหตุเป็นผล ตั้งอยู่บนพื้นฐานของชีวิต ที่ต้องการแสวงหาความสุขหรือการพ้นทุกข์ ๒.พุทธศิลป์ จึงมีคุณค่าต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมจริยธรรม คุณค่าดังกล่าวอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป นอกเหนือจากคุณค่าทางศิลปกรรมอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ยังมีคุณค่าทางการศึกษา คุณค่าทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่คุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น วัดที่นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมกันอย่างมากมาย ซึ่งอาจจะไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของวัด แต่เป็นผลลัพธ์ที่ประจักษ์แจ้ง ดังนานาอารยประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมไทย ได้พัฒนาการจากแนวคิดทางด้านพุทธธรรมและพระพุทธศาสนามีความสาคัญต่อสังคมไทย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/733
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-088 Phoonchai _Pun.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.