Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/731
Title: การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรม ของเทศบาลตาบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Other Titles: Development of a Strong Community-Based Community Building Process of Tonthong Tumbon Municipality, Muang District, Lamphun Province
Authors: กูลพรม, วสิษฐ์พล
Keywords: การพัฒนา
กระบวนการ
ชุมชนเข้มแข็ง
หลักพุทธธรรม
จังหวัดลำพูน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรมของ เทศบาลตาบลต้นธง อาเภอเมืองจังหวัดลาพูนมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบริบทชุมชนเข้มแข็งของ ประชาชนเทศบาลตาบลต้นธง อาเภอเมือง จังหวัดลาพูน เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างชุมชน เข้มแข็งของประชาชนเทศบาลตาบลต้นธง อาเภอเมืองลาพูน และเพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้าง ความเข้มแข็งของเทศบาลตาบลต้นธง อาเภอเมืองลาพูนตามหลักพุทธธรรม ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนเข้มแข็งของประชาชนเทศบาลตาบลต้นธงด้านสภาพ สังคมมีการจัดระบบการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมีสถานศึกษาในระดับอนุบาล จนถึงระดับอุดมศึกษา ด้านการสาธารณสุขมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบล ด้านโครงสร้าง พื้นฐานและการคมนาคมมีไฟฟ้านาประปา ถนนสัญจรสะดวก ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีแม่น้าปิง แม่น้ากวง ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม มีภาษาพูดเป็นของตนเอง เรียกว่า คาเมือง และคายอง และมีแหล่งท่องเที่ยวภายในวัด การพัฒนาโดยการใช้กระบวนการทางทฤษฏี terms ๑. technology ด้านเทคโนโลยีนั้น นามาใช้ในการพัฒนาเป็นเรื่องสาคัญที่ภาครัฐต้องนามาใช้ เพื่อบริการประชาชนเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ๒. Economic ด้านเศรษฐกิจ มีความสาคัญยิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน เศรษฐกิจดี ทาให้ชุมชนเข้มแข็ง ทาให้ประชาชนกินดี อยู่ดี ประชาชนไม่มีหนี้สิน ชุมชนก็เข้มแข็ง ๓. Resource ด้านทรัพยากรบุคคลถือว่าสาคัญที่สุดต่อการพัฒนาต่าง ๆ ต้องมีการพัฒนาบุคลากร อย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ ๔. Mental ด้านจิตใจ ความเข้มแข็งของชุมชน เริ่มต้นที่จิตใจเป็นสาคัญ ถ้าประชาชนมีจิตใจที่อ่อนแอไม่เข้มแข็งก็พ่ายแพ้แก่ปัญหาชีวิต ไม่สามารถ แก้ไขปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนได้ ๕.Socio-cultural system ด้านระบบสังคมและวัฒนธรรม ยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ให้ความสาคัญกับกิจกรรมวันสาคัญทางศาสนาทา ให้ประชาชนมีศีลธรรม นอกจากนั้นก็มีการพัฒนากระบวนการสร้างความเข้มแข็งด้วยหลักพุทธธรรม จักร ๔ (ธรรมนาชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนารถไปสู่ที่หมาย หลักจักร ๔ มีการประยุกต์ใช้เพื่อความ เข้มแข็งของชุมชน คือ จักร ๔ ได้แก่ ๑.ปฏิรูปเทสวาสะ (อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม) ชุมชน ตาบลต้นธงถือว่าตั้งอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมทั้งด้าน อาณาเขตที่สะดวกสบายด้านการสัญจร เอื้ออานวย ต่อหลายๆ ด้าน ๒.สัปปุริสูปัสสยะ (สมาคมกับสัตบุรุษ) คือการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการเสวนา คบหาบุคคลอื่นที่เป็นคนดีมีกัลญาณมิตร ๓.อัตตสัมมาปณิธิ (ตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นาตน ไปถูกทาง) ในตาบลต้นธงดังกล่าวมาแล้วว่ามีโครงการฝึกอบรมธรรมะแก่ประชาชน หลายโครงการ เช่น พระธรรมทูตสัญจร อ.ป.ต.สัญจร พบประชาชนโครงการหมู่บ้านรักษาศีลห้า เป็นต้น ๔.ปุพเพกต ปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทาความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดี, ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ ต้น) ถือได้ว่าเป็นการเสริมสร้างคุณความดี จากการประพฤติปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องนั้น นับได้ว่าเป็น ทุนเดินของสังคมที่ได้สั่งสมความดีมาก่อน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้ส่งคมในตาบลต้นธงมีความเข้มแข็ง สงบสุข ตามแบบของชุมชน สังคมวิถีพุทธ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/731
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-041 นายวสิษฐ์พล กูลพรม.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.