Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/730
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอาภากโร, สุทิตย์-
dc.contributor.authorพระราชปริยัติเวที-
dc.date.accessioned2022-03-29T09:52:43Z-
dc.date.available2022-03-29T09:52:43Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/730-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการอยู่ร่วมกันของประชาคม อาเซียนตามแนวศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษานโยบายและกลไกการส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน ของประชาคมอาเซียนนตามแนวศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และเสนอ แนวทางการบูรณาการหลักคาสอนและแนวปฏิบัติในเชิงนโยบายเพื่อการอยู่ร่วมกันของประชาคมอาเซียน การดาเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก เอกสารและจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญซึ่งเป็นผู้นาทางศาสนาและผู้นาภาครัฐและชุมชน จานวน ๕๐ รูป/คน ใน พื้นที่ ๙ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย เมียนมา ลาว มาเลเชีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยใช้ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการวิจัย แล้วนามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็น องค์ความรู้เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของประชาคมอาเซียน ผลการศึกษาพบว่า การอยู่ร่วมกันของประชาคมอาเซียนนั้นมาจากแนวคิดและวิธีปฏิบัติ ๔ ประการสาคัญ คือ ๑) จากแนวคิดและหลักการของแต่ละศาสนา โดยศาสนาพุทธมุ่งเน้นให้คนอยู่ร่วมกัน ด้วยหลักศีล ๕ การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน การมีความเมตตา กรุณาต่อกัน ให้มีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น สาหรับศาสนาคริสต์มุ่งแนะนาให้อยู่ร่วมกันด้วยบทบัญญัติ ๑๐ ประการ และให้มีจิตคิดเมตตา ให้มีความ รักต่อเพื่อมนุษย์เสมือนรักตนเอง ส่วนศาสนาอิสลาม สอนให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยหลักหลักศรัทธา ๖ และหลักปฏิบัติ ๕ ประการ คือ การไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน โดยมุ่งเน้นการกระทาหน้าที่ ๓ ประการ คือ การมีความรัก มีสันติ การสร้างความดีงามต่อพระเจ้า ต่อมนุษย์ และต่อตนเอง ในขณะที่ ศาสนาฮินดูใช้หลักมานวธรรมที่ถือว่าเป็นหลักการสาคัญของการอยู่ร่วมกันโดยการกาหนดให้บุคคล พึ่งปฏิบัติต่อบุคคลด้วยความดีงามและความมีเมตตา ๒) จากแนวคิดและภูมิปัญญาในระดับสากล โดยทุกประเทศได้ยึดหลักความเสมอภาค ความเท่าเทียม ความยุติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชนใน การเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และการไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ๓) จากบทบัญญัติแห่ง กฎหมายและรัฐธรรมนูญ ซึ่งทุกประเทศได้มีการกาหนดบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อให้สิทธิและ เสรีภาพของประชาชนในการที่จะนับถือศาสนา มีความเคารพต่อเพื่อมนุษย์และศักดิ์ศรีของกัน และ กัน โดยให้มีการเสริมสร้างความสามัคคีของสังคมอย่างต่อเนื่อง ๔) จากแนวคิดและหลักปฏิบัติตาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการใช้วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นมาส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ซึ่ง แนวคิดและวิธีการในข้อ ๑ เป็นการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันที่มาจากภายในจิตใจของมนุษย์ ส่วน ประเด็นด้านนโยบาย แนวคิดสากล และภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น เป็นเสมือนสัญลักษณ์ภายนอกที่มนุษย์ และสังคมพึงมีต่อกัน จากการวิจัย ทาให้เห็นว่า นโยบายและกลไกการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของประชาคมอาเซียน นั้น มีแนวคิดและกรอบนโยบายที่เป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ตามกฎบัตรของอาเซียน และกฎ บัตรและแนวคิดในระดับสากล เช่น หลักความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน ถึงแม้ว่าจะมีปัญหา อุปสรรคในการ ดาเนินการของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างทางด้านนโยบาย วัฒนธรรม และการนับถือศาสนาก็ตาม แต่ในความเป็นจริงทุกฝ่ายยังมองเห็นประโยชน์ที่จะอยู่ร่วมกันมากกว่าการสร้างความขัดแย้งในเชิงนโยบาย และการนับถือศาสนา โดยแนวทางที่เหมาะสมในการสร้างสังคมสันติในประชาคมอาเซียน ก็คือ “การ แสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง” เพื่อยอมรับ และการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลายในสังคม พหุวัฒนธรรมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการอยู่ร่วมกันen_US
dc.subjectประชาคมอาเซียนen_US
dc.subjectแนวคิดและวิถีปฏิบัติen_US
dc.titleการอยู่ร่วมกันของประชาคมอาเซียน : แนวคิดและวิถีปฏิบัติตามแนวศาสนาen_US
dc.title.alternativeThe Coexistence of the ASEAN Community : Concepts and Practices in accordance with Religiousen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-001พระมหาสุทิตย์ อาภากโร.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.