Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/728
Title: การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนาในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Elderly Health Care With Buddhist Prnciple in Elderly School of Phetchabun Province
Authors: กิตฺติวณฺโณ, พระปลัดวุฒิพงษ์
ทองสี, พระครูปริยัติพัชรธรรม
กิตฺติปญฺโญ, พระมหาธนกร
ญาณชาโต, พระสมุห์ชาญชัย
Keywords: สุขภาวะของผู้สูงอายุ
หลักพระพุทธศาสนา
โรงเรียนผู้สูงอายุ
จังหวัดเพชรบูรณ์
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนาในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในภาคสนามโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงเอกสารและคุณภาพจาก พระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาสาเหตุและสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ ๒.เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตของผู้สูงอายุในพระพุทธศาสนา และ ๓. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประเมินผลการนาหลักธรรมมาใช้ในการดาเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดาเนินการวิจัยตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง ๘ แห่ง มีสาเหตุและสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน ด้วยบริบทและแนวคิดของผู้สูงอายุแต่ละโรงเรียนแต่ละท่านได้พูดถึงสาเหตุและสภาพปัญญาที่ผู้สูงอายุอยากเข้ามาเรียน คืออยากมีความรู้ อยากมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย อยากมีเพื่อน อยากมีวิชาชีพทากับเพื่อน ๆ เพื่อคลายเหงาและซึมเศร้าของผู้สูงอายุเอง ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง ๘ แห่ง คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ การนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดาเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากในอยู่หัวข้อธรรมทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้ คือ ไตรสิกขา ๓ ภาวนา ๔ อายุสธรรม ๕ อิทธิบาท ๔ สัปปายะ ๗ โพชฌงค์ ๗ หลักธรรมทั้งหมดผู้สูงอายุนามาใช้ในการดาเนินชีวิตของตนเองที่แตกต่างกันออกไป ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง ๘ แห่ง คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ประเมินผลการนาหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจาวันของผู้สูงอายุ ส่วนมากแนวคิดของแต่ละท่านจะแตกต่างกันออกไป จากจานวนโรงเรียนทั้ง ๘ แห่ง แต่ละแห่งโรงเรียนผู้สูงอายุมีแนวคิดแตกต่างกันทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านทางจิตใจ การอยู่ร่วมกันในสังคม เศรษฐกิจและมีรายได้ ในแต่ละด้านผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง ๘ แห่ง มีแนวคิดการนาหลักธรรมมาใช้ของแต่ละท่านแตกต่างกันออกไป สรุปผลการศึกษาการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ จากความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงทั้ง ๘ แห่ง มีสาเหตุและสภาพปัญหาที่แตกต่างกันออกไปตามแนวความคิด หลักธรรมที่นามาใช้ในการดาเนินชีวิตแตกต่างกัน การวิเคราะห์ประเมินผลการนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดาเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไปตามแนวคิดของผู้สูงอายุ ส่วนปัญหาต่าง ๆ และอยากให้ผู้วิจัยช่วยแก้ไขปัญหา คือ ให้ช่วยแก้ปัญหาทางด้านงบประมาณเพราะงบประมาณไม่มีเพียงพอสาหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ มีครูทาการสอนที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น ให้มีหลักสูตรผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐาน อยากให้มีพยาบาลเข้ามาช่วยรักษาเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอยากให้พระสงฆ์เข้ามาช่วยพัฒนาจิตใจของผู้สูงอายุให้มากขึ้น ทั้งหมดเป็นปัญหาและให้ช่วยแก้ไขของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/728
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-149 พระปลัดวุฒิพงษ์.pdf9.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.