Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/727
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ | - |
dc.contributor.author | แผนสมบุญ, พุทธชาติ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-29T09:48:40Z | - |
dc.date.available | 2022-03-29T09:48:40Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/727 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดกระบวนการพัฒนาจิต และปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมสร้างชีวสุขตามแนวทางการพัฒนาจิตใจ และปัญญาแบบองค์รวม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเข้าร่วมกิจกรรมชีวสุขตามแนวทางพัฒนาจิตใจ และปัญญาแบบองค์รวมด้วยกระบวนการไบโอฟีดแบค กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ที่เข้าร่วมโครงการเข้าร่วม “โครงการสุขชีวีวิถีพุทธ” จานวน 17 รูป โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม (Inclusion Criteria) ตามคุณสมบัติที่กาหนดไว้ และคัดกรองแบบประเมินสุขภาพ วิธีการออกแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) 2) แบบวัดความสุขเชิงพุทธ 3) แบบบันทึกเหตุการณ์ประจาวัน 4) แบบรายงานการสอบอารมณ์ 5) การสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์สัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง ควบคู่กับการสอบอารมณ์ และทาแบบทดสอบความสุขเชิงพุทธก่อน และหลังการทดลอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ Paired-Samples t-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ -Pearson correlation. ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาจิต และปัญญาในทางพระพุทธศาสนามีเครื่องมือที่เรียกว่าไตรสิกขา หลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเป็นการฝึกปฏิบัติอบรมกาย ฝึกอบรมจิต ฝึกอบรมศีล และฝึกอบรมปัญญา วิธีการทางสายเอก ได้แก่ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 แปลว่า ที่ตั้งของสติ ซึ่งได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม ในอีกความหมายหนึ่งที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ แปลว่า สติกาหนด คือ การกาหนดสักแต่ว่ารู้ ที่กาย เวทนา จิต และธรรม สติปัฏฐาน 4 การฝึกวิปัสสนาจะเกิดความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม ปัญญามีการพัฒนาคุณภาพของจิต ข ด้วยการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง มั่นคง แน่วแน่ ควบคุมตนได้ดี มีสมาธิ มีกาลังใจสูง ให้เป็นจิตที่สงบ ผ่องใส ผู้ที่ได้รับการพัฒนาจิต และปัญญาแบบองค์รวม คือ การพัฒนามนุษย์ให้มีความสุขให้มีพัฒนาการ 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนากาย พัฒนาจิตใจ พัฒนาศีล และพัฒนาปัญญา โดยเครื่องมือชี้วัดการฝึกปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า หลักภาวนา 4 | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คลื่นสมอง | en_US |
dc.subject | วิปัสสนากรรมฐาน | en_US |
dc.subject | ความสุขเชิงพุทธ | en_US |
dc.title | การพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างชีวสุขตามแนวทางการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม ระยะที่ 2 | en_US |
dc.title.alternative | The Development of Activity for Enhancing Bio Well Being based on Holistic Development of Mind and Wisdom Phase 2 | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-356พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.