Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/724
Title: ความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา
Other Titles: The relation of the cultural tourism in Lanna
Authors: พระชยานันทมุนี
คาพงษ์, วรปรัชญ์
พระครูฉันทเจติยานุกิจ
พระปลัดนฤดล
สะสม, ฐิติพร
Keywords: ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์วัดและชุมชน
จังหวัดน่าน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยโครงการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่านและแนวทางการสร้างความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน เพื่อที่จะวิเคราะห์การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) และการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) การวิจัยเชิงปริมาณใช่การตอบแบบสอบถาม ผู้ประกอบการนำเที่ยว ตัวแทนชุมชนที่มีส่วนร่วม 50 คน/โครงการย่อย นักท่องเที่ยวและประชาชนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้เดินทางท่องเที่ยวภายในวัดดังกล่าว 100 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จำนวน 50 คน รวมจำนวน 200 คน โดยกำหนดจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนแต่ละวัด/องค์กร ในพื้นที่จังหวัดน่านและสัมภาษณ์เชิงลึก ประมาณวัดละ 5-10 รูปคน ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่านนั้น เมื่อนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจงหวัดน่านนั้นมีความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและส่วนใหญ่เข้าใจถึงลักษณะของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั่นทำให้วัตถุประสงค์หลักในการมาเที่ยวจังหวัดน่านก็เพื่อพักผ่อนนันทนาการ และเยี่ยมชมโบราณสถานและวัตถุ รวมถึงต้องการที่จะร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน โดยลักษณะความสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน จะเป็นไปในรูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งวัด ชุมชน ผู้ประกอบการ ภาครัฐและเอกชน ต่างบทบาทในการดำเนินการสำคัญต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มเครือข่ายและภาคประชาชนนั้นส่วนใหญ่แล้วต้องการที่จะสืบทอดและอนุรักษ์ วัฒนธรรมของตนเองไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ วิถีชีวิต ไปจนถึงความรู้ของของปราชญ์ชาวบ้าน โดยประชาชนในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่สนับสนุนซึ่งกันและกันและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทำให้ลักษณะของการท่องเที่ยวมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง และสามารถ สร้างความยั่งยืนในการท่องเที่ยวได้แนวทางการสร้างความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน มีประเด็นดังนี้ การพัฒนาการเผยแพร่หลักพระพุทธศาสนาหรือหลักพุทธธรรม การพัฒนาชุดความรู้และภูมิป๎ญญาในท้องถิ่นของจังหวัดน่าน การจัดการท่องเที่ยวให้เหมาะสมสำหรับบริบทสังคมในป๎จจุบัน บทบาทของภาครัฐในการจัดการและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ วัดและชุมชนในจังหวัดน่าน ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถแยกประเด็นของการจัดการได้เป็น 4 ด้าน คือ ด้านการจัดการและสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านกิจกรรมท่องเที่ยว การจัดการด้านคุณค่าจากการท่องเที่ยว และ การจัดการด้านความสะดวกสบายและความปลอดภัย ซึ่งผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยงพึงพอใจกับการจัดการ ด้านความสะดวกสบายและความปลอดภัยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดการและสิ่งแวดล้อม และการจัดการด้านกิจกรรมท่องเที่ยว การจัดการด้านคุณค่าจากการท่องเที่ยว มาเป็นอันดับต่อมาซึ่งมีค่าคะแนนเท่ากัน ดังนั้นข้อเสนอแนะในการจัดการนั้น คือควรปรับปรุง เรื่องโครงสร้างพื้นฐานและการเดินทาง รวมถึงจัดให้มีการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เน้นวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น โดยต้องมีการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน ซึ่งมีกระบวนการในลักษณะการเชื่อมโยงความรู้ได้คือ แหล่งท่องเที่ยวจะต้อง เปิดโอกาสให้ประชาชนและ ตลอดจนภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมมือกันในการจัดการ และจะต้องมีการวางแผนร่วมมือกันโดยหา จุดประสงค์ในการจัดการรวมถึงจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของการจัดการ โดยให้มีผู้รับผิดชอบในโครงการต่างๆซึ่งผู้รับผิดชอบควรจะประกอบด้วยตัวแสดงและหลายภาคส่วน และติดตามตรวจสอบความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่านร่วมกันไปด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/724
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-010 พระชยานันทมุนี.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.