Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/722
Title: | นโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนา |
Other Titles: | Policy and Cultural Tourism Management of Civil State in Lanna |
Authors: | เกตุวีระพงศ์, พูนทรัพย์ พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม จันทร์จำรัส, ธีรวัฒน์ |
Keywords: | นโยบาย การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประชารัฐ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษานโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนา 2. เพื่อศึกษานโยบายและพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการท่องเที่ยวประชารัฐในล้านนา 3. เพื่อวิเคราะห์การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนาการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ในจังหวัด เชียงราย จังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาล คือ ผู้อำนวยการท่องเที่ยว 3 ท่าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ท่าน เจ้าอาวาส 9 รูป รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง 15 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลนโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนา พบว่า ภาครัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวของประเทศโดยได้กำหนดกรอบการทำงานอยู่ 2 เรื่องที่สำคัญของประเทศ คือ การกำหนดนโยบายสานพลังประชารัฐ กำหนดนโยบายกรท่องเที่ยวของรัฐบาลและกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558-2560 ใน 3 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวและยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริการจัดการท่องเที่ยว และ เป็นไปตามกลไกของนโยบายการพัฒนาสามพลังของประชารัฐซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเน้นภาคเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ความร่วมมือและชุมชนเข้มแข็ง รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ครอบคลุมระยะเวลาถึง 3 ปี ต่อเนื่องถึงปัจจุบันและกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ ดัชนีชี้ว 2. ผลการศึกษา พบว่า นโยบายและพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ ประชารัฐในล้านนาในภาพรวมในสามจังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัด พบว่า ทั้งสามจังหวัดได้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพัฒนาตามนโยบายภาครัฐมาตามลำดับ โดยจัดการท่องเที่ยวด้วยตัวเองจากต้นทุนที่มีอยู่ของแต่ละจังหวัดในลักษณะที่แต่ละวัดดำเนินการจัดการร่วมกับพระสงฆ์คณะกรรมการวัด โยมอุปัฐฐากวัด โดยใช้งบประมาณจากการงานบุญของวัดและเงินบริจาคของนักท่องเที่ยว สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นเข้าไปสนับสนุนการให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษแก่มัคคุเทศก์อาสา โดยที่พื้นที่เป็นผู้เชื้อเชิญภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วม และพบว่า ภาครัฐยังมีส่วนพัฒนา ในอัตราที่น้อยอยู่มาก ยังไม่ครอบคลุมที่ภาครัฐบาลได้ประกาศนโยบายด้านการท่องเที่ยวของ รัฐบาล ปี พ.ศ. 2558 ต่อการเพิ่มรายได้ให้ประเทศ กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพคน ไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 3.การวิเคราะห์ผลนโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐใน ล้านนาเชิงเอกสาร พบว่า เป็นไปตามกลไกของนโยบายการพัฒนาสามพลังของประชารัฐซึ่งรัฐบาลได้ น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเน้นภาคเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ ความร่วมมือและชุมชนเข้มแข็ง สอดรับกับนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่ประกาศให้ปี พุทธศักราช 2558 ในส่วนของยุทธศาสตร์ พบว่า รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 วิเคราะห์ผลในเชิงพื้นที่รายจังหวัด จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงใหม่นั้น พบว่า ล้วนแต่ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวด้วยตนเองโดยความร่วมมือของพระสงฆ์- สามเณรในวัด และคณะกรรมการวัด ปู่อาจารย์วัด ผู้รู้ในชุมชน สถานศึกษา ในส่วนของงบประมาณเป็นเงินทำบุญ ของวัดและเงินบริจาคของนักท่องเที่ยวและโยมที่อุปถัมภ์วัดเป็นกำลังสำคัญของวัด ภาครัฐยังไม่มี งบประมาณสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยตรง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/722 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-016 พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.