Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/721
Title: สี่แยกอินโดจีน : กระบวนการและกลไกลการขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมกับการ พัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Intersection Indochina : Social Mechanic Drive Nets and Process with an Area Development in Phitsanulok Province.
Authors: โพธิ์ทอง, พระครูรัตนสุตาภรณ์
Keywords: สี่แยกอินโดจีน
กลไกภาครัฐ
ยุทธศาสตร์
การขับเคลื่อน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “สี่แยกอินโดจีน : กระบวนการและกลไกลการขับเคลื่อนเครือข่ายทาง สังคมกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการ และ กระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาสี่แยกอินโดจีน ๒) เพื่อศึกษากลไก กระบวนการภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ สี่แยกอินโดจีน ๓) เพื่อศึกษา องค์ประกอบ การกาหนดยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ และแนวโน้มการพัฒนาสี่แยกอินโด จีน และ ๔) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครือข่ายทางสังคม นโยบาย และผลกระทบของการ พัฒนา และเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน เป็นการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์กลไกภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ตามยุทธศาสตร์สี่แยกอินโดจีน โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informants) ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับ กลไกลการ ขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลกรัฐในการบริหารจัดการเชิง พื้นที่ตามยุทธศาสตร์สี่แยกอินโดจีน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ประวัติสี่แยกอินโดนจีนและพัฒนาการเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาสี่แยกอินโดจีน พบว่า สี่แยกอินโดจีนเริ่มจาก มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ที่ได้กาหนดให้จังหวัด พิษณุโลกและกลุ่มจังหวัดใกล้เคียงเป็นพื้นที่ของการพัฒนาเป็นสี่แยก Crossroad หรือ Intersection ของเส้นทางตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ ที่เรี่ยกว่า East-West และ North-South Corridor ทาให้ จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการบริการที่เรียกว่า Service Centre จากมติคณะรัฐมลตรีดังกล่าว เป็นการกาหนดให้พิษณุโลกเป็นหัวใจและจุดเชื่อมต่อ ถือเป็นการกาหนดจุดยุทธศาสตร์ของประเทศและของภูมิภาค ๒. กลไก กระบวนการภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ สี่แยกอินโด จีน พบว่า กลไกในการบริหารจัดการพัฒนาเชิงพื้นที่นั่น คือ ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน และวัสดุ ข อุปกรณ์ การจัดหาบุคลากรเข้าทางานในองค์กร ปัจจัยในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยก อินโดจีน คือ นโยบายของรัฐบาลซึ่งเป็นเครื่องมือในการกาหนดทิศทาง แนวทางการพัฒนา การแก้ไข ปัญหา ด้วยการจัดทาแผนบริหารราชการในการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้น ๓ ปี ระยะกลาง ๕ ปี และแผนระยะยาว ๑๐ ปี โดยเฉพาะการได้รับความร่วมมือกันของทุกฝ่าย จะสร้างสัมพันธภาพใน การทางาน ด้วยการอาศัยความเข้าใจ หรือการตกลงร่วมกัน มีการรวบรวมกาลังความคิด วิธีการ เทคนิค และระดมทรัพยากร มาสนับสนุนงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เต็มใจ ที่จะทางานร่วมกัน ๓. องค์ประกอบ การกาหนดยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ และแนวโน้มการ พัฒนาสี่แยกอินโดจีน พบว่า การทางานของเครือข่ายเป็นปัจจัยสาคัญที่สนับสนุน และส่งเสริมให้ ประชาชน มีพลังในการพัฒนาประเทศอย่างสร้างสรรค์ ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อ ความประทับใจร่วมกัน ความความปรองดอง สมานฉัน เป็นมิตรกัน การใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นหนทางที่ นาไปสู่มิตรภาพ ตลอดจนการทางานร่วมกัน ทั้งนี้ท้องถิ่นต้องสร้างระบบการดาเนินงานทางเครือข่าย ทางสังคมร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบร่วมกัน กระบวนการทางานที่เชื่อมประสานจุดเล็กและขยายไปสู่หน่วยใหญ่ระดับชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการ กาหนดยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ และเกิดการพัฒนาสี่แยกอินโดในอนาคตต่อไป ๔. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครือข่ายทางสังคม นโยบาย และผลกระทบของการ พัฒนา และเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน พบว่า การสร้างจังหวัดพิษณุโลกให้ เป็นศูนย์กลางแห่งการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า สิ่งสาคัญที่สุดในการพัฒนาเชิงพื้นที่ บริเวณสี่แยกอินโดจีน คือ ประชาชนชาวพิษณุโลกต้องได้รับประโยชน์มากที่สุด และต้องได้รับ ผลกระทบที่เป็นผลเสียจากโครงการให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะการทางานและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เนื่อง ด้วยประชาชนจะต้องพบปะพูดคุย ให้บริการ และทางานกับชาวต่างชาติมากขึ้น ภาษาจึงเป็นสิ่ง สาคัญที่ประชาชนจะต้องเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้านในแทบอาเซียน และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจีน ซึ่งเป็นชาติมหาอานาจของเอเชียที่จะต้องใช้ทางผ่านในการขนส่งสินค้า บริเวณสี่แยกอินโดจีน พัฒนาความรู้ทางด้านโลจิสติกส์ Logistics ผนวกกับความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นตัวกระตุ้นให้มีการเชื่อมต่อทั้งด้านข้อมูลข่าวสารและการเคลื่อนย้ายสินค้า ที่รวดเร็ว จึงทาให้ต้องมีการกาหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าไปอย่างมีระบบ ความรู้ ด้านโลจิสติ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/721
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-312พระครูรัตนสุตาภรณ์.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.