Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/720
Title: | พลวัตภาคประชาชนกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Civil dynamic with political movement in Phayao province |
Authors: | วงศ์จำปา, พิศมัย พระครูพิศาลสรกิจ |
Keywords: | การเมืองภาคประชาชน กลุ่มการเมือง การเคลื่อนไหวทางการเมือง |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและแนวคิดของกลุ่มการเมืองภาค ประชาชน ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองภาคประชาชน และศึกษาแนวทางการพัฒนา การเมืองภาคประชาชนในจังหวัดพะเยาสู่การจัดการตนเองชุมชนท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม ๖ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย ๑) กลุ่มการเมือง ได้แก่ แนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดพะเยา และสภาประชาชนจังหวัดพะเยา ๒) กลุ่มองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและท้องที่ ได้แก่ ชมรมท้องถิ่นไทย กลุ่มนายกเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตาบล และ สมาคมกานันผู้ใหญ่บ้าน และ ๓) กลุ่มภาคประชาสังคม ได้แก่ เครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา สถาบันปวงผญาพยาว และเครือข่ายแม่ญิงพะเยา จานวน ๒๕ คน พื้นที่ในการศึกษาได้แก่ จังหวัด พะเยา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มการเมืองในจังหวัดพะเยาประกอบด้วย กลุ่มการเมืองภาค ประชาชน กลุ่มท้องถิ่น ท้องที่ และกลุ่มภาคประชาสังคม ลักษณะของกลุ่มเป็นการรวมตัวตั้งแต่สอง คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์ในการดาเนินงาน มีกิจกรรมต่อเนื่อง มีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ละกลุ่มมี บทบาทเป็นตัวแทนของผลประโยชน์กลุ่มตนเอง มีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม เป็นลักษณะของกลุ่มผลประโยชน์ที่มารวมตัวกันชั่วคราว เพื่อเรียกร้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อ มีกิจกรรมร่วมกันบ่อยครั้ง ได้พัฒนามาสู่การรวมกลุ่มที่เป็นเชิงสถาบันมากขึ้น โดยมีโครงสร้าง กลไก และกิจกรรมในการดาเนินงานในเชิงของการเรียกร้องผลประโยชน์ต่อสังคมพะเยา และประเทศชาติ บทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มการเมือง ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในสังคมประชาธิปไตย การตรวจสอบการทางานของภาครัฐ โดยทาหน้าที่เป็นองค์กรกลาง ที่จะรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ ของประชาชน เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มการเมืองภาคประชาชาชนได้แก่ การจัดตั้งกลุ่มหรือ องค์กรทางการเมืองภาคประชาชน การให้ความรู้ทางการเมืองและประชาธิปไตยแก่ประชาชน การ ชุมนุมเพื่อแสดงพลังทางการเมือง การเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคีในการดาเนินกิจกรรม สาธารณะประโยชน์เพื่อชุมชน การเป็นองค์กรในการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานระดับนโยบาย การ เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่องค์กรชุมชน การจัดระบบองค์ความรู้ของท้องถิ่นของ ชุมชน จัดระบบเครือข่ายการสื่อสารของท้องถิ่น และสร้างให้เกิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ ภาคประชาชน ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองภาคประชาชน โดยการแสดงออกของกลุ่ม การเมืองในเชิงสัญลักษณ์ การชุมนุมหรือการระดมมวลชน การทาข้อเสนอหรือข้อเรียกร้อง การ ส่งเสริมบทบาทผู้หญิงในการพัฒนาท้องถิ่น และการสานเสวนาหาทางออก ข แนวทางการพัฒนาการเมืองภาคประชาชนสู่การจัดการชุมชนท้องถิ่น จะต้องสร้าง วัฒนธรรมการเมืองอย่างสร้างสรรค์ ครอบครัวหรือสถาบันการศึกษามีบทบาทสาคัญในการปลูกฝัง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง รวมถึงปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เด็กเยาวชน ให้ทุกคน มีจิตสานึกที่ดีต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม แยกแยะบทบาทหน้าที่ทางการเมือง และสิ่งสาคัญ คือ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับ ความต้องการและสภาพปัญหาของคนในชุมชน ทั้งนี้การนาหลักสาราณียธรรม ๖ เป็นแนวปฏิบัติเพื่อ สร้างความร่วมมือ เพื่อช่วยให้เกิดความสามัคคี การร่วมแรงร่วมใจกัน ซึ่งจะช่วยในการสร้าง ความสัมพันธ์อันดี ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่กลุ่มการเมืองภาคประชาชนได้อย่างแท้จริงและมั่นคง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/720 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-066ผศ.พิศมัย วงศ์จ าปา.pdf | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.